ทรูดิจิทัล ส่ง 5 โซลูชั่น รุกธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอสเอ็มอี ตั้งเป้าลูกค้าเอสเอ็มอี 1,000 รายปี 2568

กองบรรณาธิการ

ทรู ดิจิทัล เปิดกลยุทธ์ขยายธุรกิจรักษาความปลอดภัยสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ยกระดับระบบความปลอดภัย รับมือภัยคุกคามไซเบอร์ส่งบริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ครบวงจร พร้อมขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี ML และ AI สามารถตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามได้อัตโนมัติแบบเรียลไทม์ คาดปีนี้โต 50 เปอร์เซ็นต์

นางฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ หัวหน้าสายงานด้านความปลอดภัยระบบข้อมูลสารสนเทศ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ในปีนี้ทรู ดิจิทัล จะมุ่งเน้นการให้บริการรักษาความปลอดภัยบนเครื่อข่ายหรือไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ เอสเอ็มอีที่มีบุคลากรตั้งแต่ 50-200 คน เพื่อช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ที่คุกคามองค์กรธุรกิจในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วอีกทั้งมูลค่าความเสียหายต่อธุรกิจและระบบเศรษฐกิจทั่วโลกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรธุรกิจจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ด้านความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายและการหยุดชะงักของธุรกิจจากการถูกโจมตีระบบและข้อมูลสำคัญ ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ หนึ่งในธุรกิจของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการดิจิทัลครบวงจรในกลุ่มทรู ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยี เดินหน้าพัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ส่งเสริมความยั่งยืนในการทรานสฟอร์มธุรกิจ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด  ควบคู่กับความปลอดภัยขั้นสูง ชูจุดแข็งระบบบริหารจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และ ML (Machine Learning) สามารถตรวจจับความผิดปกติและตอบสนองการโจมตีได้อัตโนมัติแบบเรียลไทม์  พร้อมกระบวนการด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมบริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ครบวงจร

โดยทรู ดิจิทัล มีการนำเสนอโซลูชั่นครบวงจรประกอบด้วย บริการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Operation Center – SOC)  Managed Security Services บริการ Outsource การบริหารจัดการระบบความปลอดภัยไซเบอร์ และบริการให้คำปรึกษาด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ อาทิ การประเมินความเสี่ยง การปกป้องข้อมูลรั่วไหล และปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และบริการค้นหาช่องโหว่และจุดอ่อนของระบบ เพื่อสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งให้องค์กรธุรกิจทุกขนาด ในทุกอุตสาหกรรม สามารถรับมือกับภัยไซเบอร์และการโจมตีระบบบนโลกดิจิทัลทุกรูปแบบ พร้อมร่วมขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ บนพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

นางฐิติรัตน์ กล่าวว่า การทรานสฟอร์มและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปี 2566 ที่ผ่านมา สถิติภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ของประเทศไทยมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึงเท่าตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยเป็นเป้าหมายใหญ่ของการโจมตี รองมาคือ หน่วยงานราชการ ธุรกิจประกันภัย และธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ยังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการโจมตี เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ของธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่เพียงพอ รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ปัจจุบันเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 3 เท่า

ปัจจุบันทุก 39 วินาทีมีการโจมตีไซเบอร์กับองค์กรทั่วโลกและการโจมตีใช้เวลาประมาณ 84 นาทีในการโจมตีระบบมีการโจมตีจากมัลแวร์ประมาณ 71 เปอร์เซ็นต์

สำหรับประเทศไทยตลาดการรักษาความปลอดภัยในปีนี้มีมูลค่าอยู่ที่ ประมาณ 13,000 ล้านบาท มีการเติบโตของตลาดที่ 12 เปอร์เซ็นต์โดย 5 กลุ่มธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบจากภัยไซเบอร์ คือกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจประกัน หน่วยงานราชการ และธุรกิจโทรคมนาคม

นางฐิติรัตน์ กล่าวว่า ในส่วนของทรู ดิจิทัล ที่ผ่านมาหลังจากที่ตั้งหน่วยงานที่ดูแลธุรกิจการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์หรือ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ มากว่า 4 ปี บริษัทมีลูกค้ารายใหญ่มากกว่า 100 รายทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนลูกค้าไทยที่ 80 เปอร์เซ็นต์และลูกค้าต่างประเทศ 20 เปอร์เซ็นต์ อาทิ ลูกค้าในประเทศอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น

โดยลูกค้าหลักมาจากธุรกิจการเกษตร ธุรกิจน้ำมันและแก๊ส รวมถึงธุรกิจการเงินการธนาคารเป็นต้น

ในส่วนรายได้ในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีการเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้จากลูกค้าทั่วไปและลูกค้าขนาดใหญ่ที่สัดส่วน 80 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้จาก เอสเอ็มอี และคาดว่าจะมีลูกค้าเอสเอ็มอีกประมาณ 1,000 รายในปี 2568 สำหรับราคาค่าบริการของโซลูชั่นเอสเอ็มอี เริ่มต้นที่ 50,000 บาทต่อองค์กรต่อปี

#ทรูดิจิทัลไซเบอร์ซิเคียวริตี้ #ทรูดิจิทัล #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share