ฟอร์ติเน็ต เผยผลสำรวจไอดีซี ชี้สถานการณ์ SecOps ไทยต้องรับมือกับฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์สูงขึ้น แนะใช้ AI ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

กองบรรณาธิการ

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจใหม่ที่จัดทำโดย IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of Security Operations (SecOps) ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยฟอร์ติเน็ต โดยผลสำรวจได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับภาพรวมของ SecOps ในปัจจุบัน ที่เน้นถึงบทบาทของ AI และระบบอัตโนมัติ  โดยทำการศึกษาในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กันแพร่หลาย ความถี่และผลกระทบ รวมถึงระยะเวลาในการตรวจจับและดำเนินการตอบโต้ ความเหนื่อยล้าจากการแจ้งเตือนที่มากเกิน (Alert Fatigue) รวมถึงสถานภาพและผลกระทบของระบบอัตโนมัติในเวิร์กโฟลว์ของ SecOps ตลอดจนความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะด้าน SecOps ทั้งนี้ผลที่ได้จากการสำรวจในประเทศไทยยังรวมถึงประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ความท้าทายของการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน กับความพร้อมของทีมงานและภัยคุกคามต่างๆ

·        ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบมากที่สุด ฟิชชิ่ง และการขโมยข้อมูลส่วนตัวคือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด ซึ่งองค์กรเกือบ 50% จัดอันดับให้ภัยคุกคามดังกล่าวเป็นความกังวลใจอันดับต้น โดยภัยคุกคามห้าอันดับแรก ได้แก่ ฟิชชิ่ง การขโมยข้อมูลส่วนตัว แรนซัมแวร์ ช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และการโจมตีอุปกรณ์ IoT ซึ่งภาพรวมภัยคุกคามจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ

·        การขยายตัวอย่างรวดเร็วของแรนซัมแวร์ โดยเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ในประเทศไทยขยายเพิ่มถึงสองเท่าตัว องค์กรจำนวน 56% รายงานถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าตัวในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2022 ทั้งฟิชชิ่งและมัลแวร์คือวิธีหลักในการโจมตี ส่วนการโจมตีที่มีนัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่การโจมตีด้วยการหลอกลวงโดยใช้จิตวิทยาทางสังคม (Social Engineering) ภัยคุกคามจากในองค์กร และการเจาะช่องโหว่ Zero-day

·        ภัยคุกคามจากในองค์กร และการทำงานระยะไกล โดย 80% ของผู้ร่วมการสำรวจรู้สึกว่าการทำงานระยะไกลทำให้เกิดเหตุคุกคามในองค์กรเพิ่มขึ้น การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ ขาดการดูแลเอาใจใส่พนักงาน รวมถึงสื่อสารไม่เพียงพอ ทำให้การโจมตีดังกล่าวเพิ่มขึ้น เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดการเรื่องของคนในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

·        การจัดหาทีมรักษาความปลอดภัยไอที มีองค์กรธุรกิจทั่วเอเชียเพียง 50% ที่จัดพนักงานไอทีเพื่อตั้งเป็นทีมรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ทำให้มีความท้าทายเพิ่มขึ้นในการที่ต้องเสริมประสิทธิภาพเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างจริงจัง

นางสาวภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการไปไกลกว่าที่ผ่านมามาก 70.7% ขององค์กรให้ความสำคัญกับการตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ฟอร์ติเน็ต เราตระหนักดีถึงความจำเป็นในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้เหนือชั้น ระบบอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการระบุหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดช่องโหว่ในการละเมิดได้มาก ประสบการณ์ที่ลูกค้าเราเคยเจอเน้นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการลดเวลาการตรวจจับ จากโดยเฉลี่ย 21 วัน เหลือแค่เพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบ AI และการวิเคราะห์ขั้นสูง เรื่องนี้แสดงให้เห็นขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเรื่องของเวลาในการตรวจจับและตอบสนองคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จึงทำให้ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญยิ่งในการรับมือกับความท้าทายของภัยคุกคามในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

ดร. รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยภาพรวมของภัยคุกคามที่พัฒนาไปไกลมาก องค์กรต่างๆ ต้องรับมือกับภัยไซเบอร์หลายรูปแบบที่มุ่งเป้าที่สินทรัพย์ดิจิทัล โดยโซลูชันด้านการดำเนินงานในการรักษาความปลอดภัยของฟอร์ติเน็ต สนับสนุนการทำงานด้วยระบบ AI ขั้นสูง นอกจากจะตอบโจทย์ความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องระบบอัตโนมัติแล้ว ยังให้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมในการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความมุ่งมั่นของฟอร์ติเน็ตในการสร้างขุมพลังให้กับองค์กรในการควบคุมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบไดนามิก สะท้อนอยู่ในโซลูชันนวัตกรรมของเรา ที่ใช้เวลาในการตรวจจับและจำกัดการคุกคามได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยเวลาแค่หนึ่งชั่วโมงโดยเฉลี่ย (ในหลายกรณีน้อยกว่านั้น) และใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขแค่ 11 นาทีโดยเฉลี่ย ให้ ROI สูงถึง 579% ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมงานได้ถึงสองเท่า และคาดว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการละเมิดได้มากถึง 1.39 ล้านเหรียญสหรัฐ

#ฟอร์ติเน็ต #ผลสำรวจไอดีซี #สถานการณ์SecOpsไทย #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share