เสียวหมี่ เผยไตรมาสที่ 3 ปี 2566 กำไรสูงขึ้น 182.9% เป็น 6 พันล้านหยวน นับเป็นอัตรากำไรขั้นต้นสูงที่สุด

กองบรรณาธิการ

เสียวหมี่ คอร์เปอเรชั่น บริษัทด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะด้วยการเป็นผู้นำด้านสมาร์ทโฟนและสมาร์ทฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อบนแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) เผยผลการดำเนินงานไม่สอบทานสำหรับสามเดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 (ไตรมาส 3 ปี 2566 หรือ ช่วงเวลา) นับตั้งแต่ได้เริ่มการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลักขององค์กรที่มุ่งเน้น การขยายธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างผลกำไร ควบคู่ไปกับการพัฒนากลยุทธ์ premiumization ทำให้เสียวหมี่นั้นสามารถเพิ่มทั้งรายได้และผลกำไรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผลการดำเนินงานรายไตรมาสที่สร้างสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 6 ไตรมาส มีกำไรประจำไตรมาสที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี ในไตรมาส 3 ปี 2566 เสียวหมี่มีรายรับรวมสูงถึง 70.9 พันล้านหยวน และมีกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วอยู่ที่ 6 พันล้านหยวน เติบโตขึ้น 182.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) และเป็น 1.7 เท่าของกำไรรวมของปีที่แล้วซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

มร. เหลย จุน (Lei Jun) ผู้ก่อตั้ง ประธาน และซีอีโอของเสียวหมี่ คอร์เปอเรชั่น (Xiaomi Corporation) กล่าวว่า เสียวหมี่ ได้ตั้งเป้าหมายใหม่สำหรับปี 2563-2573 ภายใต้เป้าหมายใหม่ กลุ่มบริษัทมุ่งมั่นที่จะลงทุนอย่างยั่งยืนในเทคโนโลยีหลักพื้นฐาน และมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยระดับโลก การตอกย้ำความมุ่งมั่นอันแข็งแกร่งของเสียวหมี่ด้วยการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 5 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และมีจำนวนบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนมากกว่า 53% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด กลุ่มบริษัทได้ยกระดับกลยุทธ์จาก Smartphone x AIoT ไปสู่ Human x Car x Home และเปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ที่มีชื่อว่า Xiaomi HyperOS ซึ่งรวบรวมทุกความต้องการของผู้บริโภคไว้ในระบบนิเวศอัจฉริยะ (Ecosystem) แห่งเดียว ตั้งแต่อุปกรณ์ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์บ้านอัจฉริยะ ไปจนถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่อัจฉริยะ

เสียวหมี่ ได้ดำเนินกลยุทธ์โดยเน้น 2 ด้านคือ ด้านขนาดของธุรกิจและความสามารถในการทำกำไร อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในไตรมาส 3 ของปี 2566 อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มบริษัทสูงถึง 22.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 4 ไตรมาสติดต่อกัน ปริมาณสินค้าคงคลังรวมอยู่ที่ 36.8 พันล้านหยวน ลดลง 30.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) นับเป็นการแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งการลดลงดังกล่าวทำให้เสียวหมี่สามารถปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ทรัพยากรเงินสดของกลุ่มบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 127.6 พันล้านหยวน ซึ่งถือเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับเสียวหมี่ในการส่งเสริมนวัตกรรม

สมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมมียอดขายและการยอมรับ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงเป็นประวัติการณ์

ในไตรมาส 3 ของปี 2566 การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกลดลงเล็กน้อย 1.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน เสียวหมี่ได้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ โดยแสดงการเติบโตทั้งปีต่อปี (YoY) และไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) บริษัทมีการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกจำนวนถึง 41.8 ล้านเครื่อง นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา

ในช่วงเวลานี้ ธุรกิจสมาร์ทโฟนของเสียวหมี่มีการเติบโตของรายได้ 13.8% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แตะที่ 41.6 พันล้านหยวน อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 16.6% เพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของกลุ่มบริษัท เสียวหมี่ยังคงเดินหน้าต่อไปด้วยกลยุทธ์ระดับพรีเมียม ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางและทำให้มียอดขายที่ทะลุเป้า โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมากลุ่มบริษัทได้เปิดตัว Xiaomi 14 Series ในประเทศจีน ในช่วง 5 นาทีแรกหลังจากเปิดตัว Xiaomi 14 Series สามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 6 เท่าของยอดขายเริ่มแรกของ Xiaomi 13 Series ซึ่งเกิน 1 ล้านเครื่องในช่วงการขายเริ่มแรก และได้รับคะแนนเชิงบวกมากกว่า 99% บนแพลตฟอร์ม JD.com เสียวหมี่ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม 6 ซีรีส์ติดต่อกัน รวมถึง Xiaomi 14 Series ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมากจากลูกค้าในเดือนแรกหลังจากเปิดตัวสู่ตลาด

จากข้อมูลของ Canalys เสียวหมี่เป็นแบรนด์เดียวใน 3 อันดับแรกที่มียอดการจัดส่งสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสนี้ นับเป็นการฟื้นตัวและเติบโตอีกครั้งด้วยส่วนแบ่งการตลาด 14.1% เสียวหมี่ยังคงรักษาอันดับที่ 3 ของการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกได้เป็นเวลาถึง 13 ไตรมาสติดต่อกัน โดยติด 3 อันดับแรกใน 55 ประเทศและภูมิภาค และติด 5 อันดับแรกใน 65 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งตอกย้ำสถานะของบริษัทในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรม

เสียวหมี่ยังคงปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจค้าปลีกใหม่อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของบุคคลที่สาม ในไตรมาส 3 ของปี 2566 การจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์มีสัดส่วนมากกว่า 55% ของสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศจีน โดยในเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 ล่าสุด มูลค่าสินค้ารวมสะสม (GMV) ของเสียวหมี่มีมูลค่ามากกว่า 22.4 พันล้านหยวน นับเป็นการสร้างสถิติใหม่ในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง

ยกระดับการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ไปสู่อีกระดับ เพื่อกระตุ้นการเติบโตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ IoT และกลุ่มผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์

ในไตรมาส 3 ของปี 2566 รายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ IoT และผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มบริษัทอยู่ที่ 20.7 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และอัตรากำไรขั้นต้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.8% เพิ่มขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY)

ผลิตภัณฑ์ระบบนิเวศของเสียวหมี่ (Xiaomi’s ecosystem products) มีข้อได้เปรียบในการเชื่อมต่อระหว่างกัน ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 จำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อ (ไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป) บนแพลตฟอร์ม AIoT ของกลุ่มบริษัทมีจำนวนถึง 699 ล้านเครื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้น 25.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) จำนวนผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์ 5 เครื่องขึ้นไปเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม AIoT ของกลุ่มบริษัท (ไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป) สูงถึง 13.7 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 26.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY)

สมาร์ททีวีของเสียวหมี่ ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำในประเทศจีน จากข้อมูลของ All View Cloud (AVC) ในไตรมาส 3 ของปี 2566 การจัดส่งทีวีของกลุ่มบริษัทอยู่ในอันดับที่ 1 ในประเทศจีน นอกจากนี้ ตามข้อมูลของ Canalys การจัดส่งแท็บเล็ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 120% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) ถือเป็นครั้งแรกของการเข้าสู่ 5 อันดับแรกของการจัดอันดับการจัดส่งแท็บเล็ตทั่วโลก

แสวงหาความเป็นเลิศเพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการเป็นผู้นำทางอินเทอร์เน็ต

ด้วยแรงผลักดันจากการขยายตัวของระบบนิเวศอัจฉริยะและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตของเสียวหมี่จึงทำสถิติสูงสุดรายไตรมาสอีกครั้ง โดยแตะ 7.8 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) อัตรากำไรขั้นต้นของบริการอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 74.4% เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) จำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) ของ MIUI ทั่วโลกและประเทศจีนทำสถิติสูงสุด ข้อมูลในเดือนกันยายน 2566 พบว่า MAU ทั่วโลกของ MIUI สูงถึง 623 ล้าน เพิ่มขึ้น 10.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) ในขณะที่ MAU ของ MIUI ในประเทศจีนสูงถึง 152 ล้าน เพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY)

กลยุทธ์ระดับโลก (globalization) ของเสียวหมี่ก่อให้เกิดศักยภาพอันยิ่งใหญ่ ในช่วงเวลาดังกล่าว รายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตของเสียวหมี่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 35.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) คิดเป็น 2.3 พันล้านหยวน นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ โดยคิดเป็น 30.0% ของรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมด รายรับจากการโฆษณาของเสียวหมี่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 อยู่ที่ 5.4 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) สร้างสถิติใหม่รายไตรมาส ด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน รวมทั้งธุรกิจเกมของเสียวหมี่ก็เติบโตเมื่อ

เทียบกับปีก่อนหน้าเป็นไตรมาสที่ 9 ติดต่อกัน

อัปเกรดกลยุทธ์เป็น “คน x รถยนต์ x บ้าน”

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของเสียวหมี่ อยู่ที่ 5 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 22.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) โดยกลุ่มบริษัทมุ่งมั่นที่จะดึงดูดและบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กลุ่มบริษัทมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาอยู่ถึง 17,563 คน คิดเป็นมากกว่า 53% ของพนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ เสียวหมี่ยังคงขยายขีดความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทได้รับสิทธิบัตรมากกว่า 35,000 ฉบับทั่วโลก

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เสียวหมี่ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ Xiaomi HyperOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ออกแบบและปรับแต่งเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนบุคคล รถยนต์ และผลิตภัณฑ์บ้านอัจฉริยะในระบบนิเวศอัจฉริยะ เป้าหมายของ Xiaomi HyperOS คือการปรับโครงสร้างใหม่อย่างครอบคลุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ การเชื่อมต่ออัจฉริยะแบบ Cross-Device Intelligent Connectivity ระบบอัจฉริยะเชิงรุก (Proactive Intelligence) การรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร (End-to-End Security) และแพลตฟอร์มแบบเปิด (Open Platform) ซึ่ง Xiaomi HyperOS นั้นสร้างขึ้นโดยระบบ Xiaomi Vela ที่เสียวหมี่พัฒนาขึ้นเอง พร้อมด้วยการปรับแต่งระบบ Linux อย่างเจาะลึก กลุ่มบริษัทได้ปรับโครงสร้างเกณฑ์วัดพื้นฐาน เช่น การจัดตารางที่มีประสิทธิภาพ การจัดการงาน การจัดการหน่วยความจำ และการจัดการไฟล์ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับการเชื่อมต่ออัจฉริยะข้ามอุปกรณ์ Xiaomi HyperConnect ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่ออัจฉริยะข้ามอุปกรณ์ขั้นสูงช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูงระหว่างอุปกรณ์หลายเครื่อง ซึ่งความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัทต่อระบบอัจฉริยะเชิงรุก (Proactive Intelligence) ได้ก่อให้เกิด Xiaomi HyperMind ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้อัจฉริยะข้ามอุปกรณ์ และ Xiaomi HyperOS ได้ก้าวล้ำไปอีกขั้นด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ขั้นสูงมาสนับสนุนซึ่งทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วย AI ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร (End-to-End Security) เสียวหมี่ก็ได้พัฒนาขึ้นเองด้วย Trusted Execution Environment (TEE) โดยทำงานบนฮาร์ดแวร์เฉพาะ ทำหน้าที่เป็นรากฐานของระบบย่อยการรักษาความปลอดภัย เสียวหมี่ใช้การเข้ารหัสจากแบบครบวงจรผ่าน TEE สำหรับการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ขยายขอบเขตการป้องกันไปยังระบบความปลอดภัยที่เชื่อมต่อถึงกัน นอกจากนี้ Xiaomi HyperOS ยังยึดหลักการของแพลตฟอร์มแบบเปิด (Open Platform) อีกด้วย โดยกลุ่มบริษัทได้เปิดขยายคำเชิญไปยังนักพัฒนาแอปพลิเคชันและฮาร์ดแวร์อัจฉริยะ รวมทั้งให้สิทธิ์การเข้าถึง Xiaomi HyperConnect แบบเปิด และยังได้ประกาศการเปิดซอร์สของ Xiaomi Vela เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับนักพัฒนาทั่วโลกในการพัฒนานวัตกรรม และออกแบบการทำงานร่วมกันที่ดียิ่งขึ้น

#เสียวหมี่ #Xiaomi #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share