AIS ผนึก ตำรวจไซเบอร์ และพันธมิตร ตีแผ่คดีดัง สู่ ละครคุณธรรม 12 เรื่องหวังคนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์

กองบรรณาธิการ

AIS อุ่นใจ CYBER ร่วมกับตำรวจไซเบอร์ พร้อม ค่ายละครโซเชียล 3 ค่าย กุลิฟิล์ม ทีแก๊งค์ และทีมสร้างฝัน ส่ง 12 ละครคุณธรรม จากคดีดังภัยไซเบอร์ ร่วมตีแผ่กลลวงของมิจฉาชีพ พร้อมแนะวิธีการรับมือ ในรูปแบบละครสะท้อนสังคม

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า จากการทำงานเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลภายใต้ภารกิจของ AIS อุ่นใจ CYBER ทำให้เราเห็นถึงปัญหาจากภัยไซเบอร์ที่ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) พบว่ากลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์สูงสุด ซึ่งนอกเหนือจากความตั้งใจในการส่งเสริมทักษะการใช้งานดิจิทัลด้วยเครื่องมือต่างๆ รวมถึงหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์แล้ว เรายังไม่หยุดที่จะคิดค้นและมองหาวิธีการสื่อสารใหม่ๆ เพื่อทำให้คนไทยมีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์

จึงเป็นที่มาของแคมเปญสื่อสารในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีที่เราร่วมมือกับ ตำรวจไซเบอร์ และ 3 ค่ายละครโซเชียล นำคดีจากภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริง อาทิ หลอกติดตั้งแอพดูดเงิน, หลอกลงทุน, ซื้อของจากร้านค้าปลอม, ใช้ภาพโปรไฟล์คนอื่นและสวมรอยเพื่อหลอกยืมเงิน มาถ่ายทอดในรูปแบบของละครคุณธรรม หรือละครสั้นสะท้อนสังคม ที่วันนี้ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนสูงวัย ด้วยวิธีการเล่าแบบตรงไปตรงมา สนุก สอดแทรกสาระและวิธีการรับมือจากพี่ๆ ตำรวจไซเบอร์ ที่มาร่วมเป็นนักแสดงในละครคุณธรรมทั้ง 12 ตอน 12 สถานการณ์ อีกด้วย

นอกเหนือจากย้ำเตือนสังคมผ่านการสื่อสารและสร้างการตระหนักรู้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์อย่างสายด่วน 1185ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center ให้ลูกค้าแจ้งข้อมูลเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพได้ฟรี รวมถึงการมีหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย

พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพมีการออกกลโกงในรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และถูกหลอกให้เสียทรัพย์ได้ในที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ไม่ใช่แค่ในมิติเรื่องของการปราบปรามอย่างเดียว เราต้องให้ความสำคัญในเชิงป้องกัน ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้งานบนโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย ซึ่งการทำงานกับ AIS อย่างต่อเนื่องในการออกมาเตือนภัยประชาชนในรูปแบบต่างๆ ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง

“การหลอกหลวงของมิจฉาชีพทางออนไลน์ทำได้หลายรูปแบบ วิธีการของเรา การที่เราจะไปไล่ปิดเพจอะไรต่างๆทั้งหมด ผมว่ามันเหมือนกับ ไวรัสที่มันกระจายไปอย่างรวดเร็ว ไปนั่งไล่จับไม่ทัน ขณะนี้มีคดี 360,000 คดี นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มูลค่าความเสียหาย 49,000 กว่าล้านบาท ไม่รวมที่ไม่มาแจ้งความ ถ้าไม่มาแจ้งความอีกมหาศาลเลย เพราะฉะนั้นการที่จะไปนั่งไล่จับ 3 แสนกว่าคดีหรือ 4 แสนกว่าคดี ไม่ทันแน่นอน แนวโน้มตอนนี้ ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว เริ่มลดลงแต่มีความซับซ้อนมากขึ้น และมีความเสียหายสูงขึ้น จากแต่ก่อนหลอกง่ายๆ หลอกซื้อของไม่ตรงปก ซื้อของแล้วไม่ได้ของ ตอนนี้หลอกลงทุน ล่าสุดมี 4 คดีหลอกลงทุน คริปโต โดนไป 7 ร้อยกว่าล้าน และคนที่โดนเป็นคุณหมอ เป็นด็อกเตอร์ เป็นคนที่มีอาชีพนีกการธนาคาร นักการลงทุนที่เก่งมากๆของประเทศยังโดน เพราะฉะนั้นรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป มันเกิดความเสียหายที่สูงขึ้น สิ่งที่ดีที่สุด คือการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน หรือการให้ความรู้โดย AIS เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สร้างเป็นหนัง สามารถสื่อสารกันได้ง่าย เข้าใจง่าย การร่วมมือกับAIS ในการพัฒนาละครคุณธรรม ไปเรื่อยๆ เพื่อให้อาชญากรรมในประเทศลดลงให้ได้”พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถปรึกษา แจ้งเบาะแส ขอความช่วยเหลือด้านภัยไซเบอร์ได้ที่สายด่วน 1141

#AISxCCIBxละครคุณธรรม #AISอุ่นใจCYBER #มีความรู้ก็อยู่รอด #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share