ไมโครซอฟท์ ตั้งเป้าโต ดับเบิลดิจิต พร้อมมุ่งธุรกิจ คลาวน์ คอมพิวติ้ง

จิรพรรณ บุญหนุน

กองบรรณาธิการ

ไมโครซอฟท์ชี้ 6 เทคโนโลยีเทรนด์ที่ส่งผลต่อธุรกิจและชีวิตประจำวัน ยุคโควิด- 19 พร้อมชี้บริษัทมีการเติบโตของบริการไมโครซอฟท์ ทีม (Microsoft Teams) กว่า 10 เท่าเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครทซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเริ่มต้นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่าน ไมโครซอฟท์มีนโยบายในการทำธุรกิจโดยมุ่งเน้นที่ คราวน์ คอมพิงติ้ง และมีการตั้งทีม Customer Success Unit เพื่อเป็นหน่วยงานที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือการทำงานร่วมกับลูกค่าอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความพอใจสูงสุดในการใช้งานเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์อย่างเต็มประสิทธิภาพในฐานะพันธมิตรที่ก้าวสู่ความสำเร็จไปพร้อมกัน

ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หน่วยงานรัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ใช้ไมโครซอฟท์ ทีม (Microsoft Teams) และธุรกิจคลาวน์ คอมพิวติ้งของไมโครซอฟท์มีการเติบโตที่เพิ่มอยู่ที่ 936% หรือประมาณ 10 เท่า มีหน่วยงานสมัครเข้ามาเพื่อใช้ไมโครซอฟท์ ทีม มากกว่า 2,000 องค์กร ทั้ง ภาครัฐและเอกชนรวมถึงพนักงานของบริษัทได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันจากการสำรวจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ยังคาดว่าก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประเทศไทยจะมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพีของประเทศไทยจะมีการเติบโตประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นในภาพรวมประเทศไทยมีมูลค่าจีดีพีที่ติดลบอยู่ที่ 6.7 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อมูลค่าจีดีพีของประเทศที่ลดลงยังก่อให้เกิดการว่างงานในประเทศจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามจากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไมโครซอฟท์ยังได้มีการสำรวจ พบว่า โควิด-19 เป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดงานที่เกี่ยวเนื่องกับดิจิทัลจำนวนมากโดยไมโครซอฟท์คาดว่าในปี 2568 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล (Digital job) ทั่วโลกประมาณ 149 ล้านตำแหน่ง โดยตำแหน่งงานดิจิทัล ที่เป็นที่นิยมใน 3 อันดับแรก คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software development) มีจำนวนประมาณ 98 ล้านตำแหน่ง ตามมาด้วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับคลาวน์และดาต้า (Cloud and data roles) จำนวน 23 ล้านตำแหน่ง และงานที่เกี่ยวเนื่องกับนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) แม็คซีนเลินนิ่ง (Machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือเอไอ จำนวน 20 ล้านตำแหน่ง ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้ามีการคาดกันว่าแนวโน้มการทำงานที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลจะมีจำนวนมากขึ้นสอดคล้องกับภาวะตลาดโลก โดยคาดว่าประเทศไทยจะมีการจ้างงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีประมาณ 3 ล้านตำแหน่งในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยภาคอุตสาหกรรมจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีประมาณ 387,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาคการเกษตรจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีประมาณ 2,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องมีการสร้างทักษะใหม่และเสริมทักษะในการทำงานให้กับบุคลากร (Reskill) เพื่อให้สามารถทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึง ยกระดับการทำงานให้เก่งขึ้น (Up-skill) ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้ธุรกิจสามารถที่จะอยู่รอดในตลาดได้ ธุรกิจจะต้องมีการเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีให้กับให้กับบุคลากรในองค์กรทั้งในรูปแบบของการสร้างทักษะและเสริมทักษะใหม่ให้กับบุคลากร (Reskill) และให้การอบรมเพื่อให้ความรู้ในการยกระดับการทำงานและเพิ่มศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี (Up-skill) ให้กับบุคลากรในองค์กรด้วย ทั้งนี้เพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ ยังคาดว่า ประเทศไทยจะมีงานที่เกี่ยวกับดิจิทัล (Digital Job) ใน 2568 ประมาณ 3 ล้านตำแหน่งเพื่อรองรับธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในยุคดิจิทัล เช่น ธุรกิจธนาคาร ในการรองรับ ดิจิทัล แบ็งกิงค์ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เพื่อรองรับ สมาร์ท ฟาร์ม เป็นต้น

ธนวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงโควิด-19 จะมี 6 เทคโนโลยีเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันและธุรกิจเพื่อรองรับโอกาสและเพิ่มศักยภาพขององค์กร ประกอบด้วย

1.วิถีการดำรงชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ (New way of work and life)

Virtual century & remote everything เป็นการนำเอาบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาให้บริการบนดิจิทัลและรองรับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า (Customer experience)

Digital Twin เป็นการสร้างบริการที่มีอยู่ให้อยู่บนโลกเสมือนด้วย เพื่อรองรับลูกค้าในโลกดิจิทัลด้วย

Hyper automation เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยมาช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำให้บริการกับลูกค้า เช่น การนำ เช็คบ็อท มาช่วยให้การตอบคำถามของลูกค้าหรือคนไข้ของโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานแบบอัตโนมัติได้ในทุกขั้นตอน

Accelerating digital เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล เพื่อรองรับการปรับตัวขององค์กรให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

Business model revamp เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยมาช่วยในการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจทั้งระบบ เพื่อตอบโจทย์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นในบริบทใหม่ทางสังคมรวมถึงเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และนำข้อมูลมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอีก 3 เทคโนโลยีเทรนด์ที่จะมาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย คลาวน์ คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ (Data& Artficial intelligence หรือ เอไอ) และระบบรักษาความปลอดภัย (Security & trust)

อย่างไรก็ตาม ธนวัฒน์ ยังกล่าวว่า เพื่อรองรับการทำงานที่ไมโครซอฟท์เป็นปีที่ 4 ตนเองยังต้องมีการเพิ่มทักษะความรู้หรือ Re-skill และ พัฒนาทักษะในการทำงาน หรือ Up-skill ให้มากขึ้นรวมถึงมุ่งสร้างสรรค์ให้เกิดผล (Impact) กับหน่วยงานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก รวมถึงสตาร์ทอัพ (Startup) และมุ่งเน้นในส่วนของทีมงานด้วย

บริษัทยังคาดว่าสิ้นสุดปีงบประมาณ 2564 จะมีการเติบโตของธุรกิจโดยรวมดับเบิลดิจิตทั้งในส่วนของยอดผลประกอบการโดยรวมและการเติบโตของธุรกิจคลาวน์ในตลาดประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share