เอชพี เผย เอสเอ็มบี พร้อมก้าวสู่ดิจิทัลทรานส์ ฟอร์เมชั่น รับธุรกิจโต

กองบรรณาธิการ

ผลสำรวจล่าสุดของ HP Inc ในหัวข้อ “การอยู่รอดเพื่อการฟื้นฟู” กับ SMBs จำนวน 1,600 รายใน 8 ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แก่ ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น,  เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ถึง 7 มิถุนายน 2563 พบว่า เจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่าร้อยละ 50 คาดหวังว่าธุรกิจไม่เพียงแค่สามารถอยู่รอดได้แต่ต้องสามารถเติบโตหลังการแพร่ระบาด และเห็นด้วยว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อตอบสนองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เอชพีได้เปิดตัว HP Roam for Business โซลูชั่นใหม่ที่ผสมผสานการให้บริการการพิมพ์ที่ง่ายและสะดวก สามารถพิมพ์งานเอกสาร ได้ทุกที่ เสริมประสิทธิภาพการทำงานด้วย HP SecurePrint โซลูชั่นคลาวด์ที่ยืดหยุ่นและสั่งงานจากผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 60 เห็นว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมแนวคิดนวัตกรรมต่อกระบวนการทำงาน สร้างรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น อีกทั้งปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ถึงแม้ว่า SMBs มีความต้องการโซลูชั่นที่ให้ความคุ้มค่าเหล่านี้ แต่ยังมีความกังวลเรื่องการบริหารกระแสเงินสด และความไม่ชัดเจนว่าโซลูชั่นแบบใดที่เหมาะสมและจะหาได้จากที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเพียง 4 ใน 10 ของ SMBs ที่สำรวจมีแผนกหรือบุคคลที่รับผิดชอบในด้านนวัตกรรม

“ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคเอเชีย แต่การระบาดใหญ่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMBs อย่างหนัก นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้อยู่รอดเพื่อฟื้นธุรกิจของพวกเขา” ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าว

การสำรวจนี้เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายน 2563 ครอบคลุม SMBs ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ผลของการสำรงจพบว่า:

• บริษัทที่มีความมั่นใจสูงสุดว่าจะกลับมายืนหยัด ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้ดิจิทัล เกือบร้อยละ 60 เห็นว่าการใช้ดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นโดยร้อยละ74 ของ SMBs จากอินโดนีเซีย ตอบสนองเรื่องนี้อย่างเห็นได้ชัด โดยร้อยละ 74 ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นหรือสำคัญมาก เช่นเดียวกับ เจ้าของธุรกิจในประเทศไทยที่ร้อยละ 65 

• มีการปรับแผนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญหลังการระบาดใหญ่

ก่อนการระบาดใหญ่ร้อยละ 46 ของ SMBs มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจจะเติบโตแต่ภายหลังกลับลดลงเหลือร้อยละ 16 โดย SMBs ในประเทศอินเดียและเวียดนาม ยังมีความเชื่อมั่นมากที่สุดว่าจะยังเติบโตหลังการระบาดใหญ่ ส่วน SMBs ในประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความเชื่อมั่นในเชิงบวกน้อย

• ผลผลิตถูกกระทบ เป็นประสบการณ์ที่พบเกือบทั่วกันช่วงโควิด

มี SMBs เพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของ โควิด โดยมีร้อยละ 43 ที่ทำงานได้ผลผลิตลดลง

• ทักษะถูกระบุว่าเป็นปัญหา

การระบาดใหญ่ชี้ให้เห็นช่องว่างด้านความคิดเกี่ยวกับการใช้และทักษะดิจิทัลภายในองค์กร ซึ่งสร้างอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจโดยมี SMBs กว่าร้อยละ 44 ได้รับผลกระทบนี้

• SMBs ขาดความชัดเจนว่าจะมองหาความช่วยเหลือได้จากที่ใด

สถาบันการเงินอยู่ในอันดับสูงถึงร้อยละ 31 ในขณะที่ร้อยละ60 ของ SMBs ระบุว่าการสนับสนุนของรัฐบาลไม่เพียงพอและไม่ชัดเจนว่าให้ความช่วยเหลืออะไรได้บ้าง และมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่หันไปขอความช่วยเหลือจากบริษัทไอทสำหรับตลาดในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 65 ของ SMBs เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะอยู่รอดได้ โดยร้อยละ 65   มีความมั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้หลัง COVID ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยยังแสดงถึงการคาดการณ์การเติบโตในปีหน้าซึ่งเป็นไปในทางบวกโดยคาดว่าจะเติบโต 11% ในขณะที่ร้อยละ 40 เชื่อว่าการนำดิจิทัลมาใช้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ

เมื่อพูดถึงกลยุทธ์การฟื้นตัวในสามอันดับแรก SMBs ในประเทศไทยเชื่อว่ากลยุทธ์หลักที่สามารถช่วยธุรกิจของพวกเขาได้แก่ 1— รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น 2— การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและ 3— คำแนะนำกลยุทธ์ธุรกิจ สำหรับปัจจัยที่พวกเขาคิดว่าเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ พวกเขาพิจารณาในเรื่องของการตลาดที่ตอบโจทย์กระแสเงินสดและการสรรหาบุคลากร

“ประเทศไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์ COVID-19 ได้เป็นอย่างดีและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถฟื้นตัวและอยู่รอดหลังจากสถานการณ์นี้ โดยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูแผนธุรกิจ” ลิม ชุน เต็ก กล่าว

ความต้องการความสามารถพิเศษ

เพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ ความสามารถด้านดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วย SMBs ปรับตัว ธุรกิจ SMBs ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหัวใจหลักที่จะลงทุนทรัพยากรในด้านนี้ โดยทั่วไปจะเพียงแต่สนองความต้องการของลูกค้า หรือทำตามสิ่งที่คู่แข่งทำไว้ มีธุรกิจ SMBs เพียงหนึ่งในห้าเท่านั้นที่มอบข้อเสนอที่ปรับแต่งได้ เพิ่มช่องทางการขายและซัพพลายเชนใหม่ๆ หรือต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ อย่างเช่น SMBs ในประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 59) และประเทศไทย (ร้อยละ 51) ที่มีความโดดเด่นในการจัดสรรทรัพยากรด้านแนวคิดนวัตกรรมสูงสุด จึงไม่น่าแปลกใจที่ SMBs ของทั้งสองประเทศมีความมั่นใจสูงสุดในประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจหลังโควิด

การบริการและโซลูชั่นสำหรับ SMBs

เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานที่คล่องตัว เอชพีได้เปิดตัวโซลูชั่นการพิมพ์ที่ให้บริการแบบครบวงจรเพื่อให้ธุรกิจ SMBs สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอชพีมอบข้อเสนอการใช้งานหนึ่งปีสำหรับ HP Roam for Business บน HP LaserJet Pro 400 ซีรีส์ที่มีการซื้อในระหว่างนี้จนถึง 31 ตุลาคม 2563 ที่ให้อิสระในการใช้งานง่ายขึ้น โดยสามารถสั่งพิมพ์จากอุปกรณ์พกพาระหว่างการเดินทาง ผ่านการเชื่อมต่อ HP Roam กับเครื่องพิมพ์ภายในเครือข่ายของบริษัท

นอกจากนี้ เอชพีได้พัฒนา HP SecurePrint ซึ่งสามารถใช้งานได้กับเครือข่ายทุกประเภทรวมถึงเครือข่ายเดิมที่ติดตั้งในไฟร์วอลล์ รวมทั้งการพิมพ์ในสภาพไร้เซิร์ฟเวอร์ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานด้าน  ไอทีได้ อีกทั้งยังเสริมความแกร่งให้กับพนักงานด้วย HP Workpath โดยช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อแพลตฟอร์มคลาวด์ได้โดยตรงจากเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น (MFP) โดยมีมากกว่า 100 แอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มเพื่อตอบสนองลักษณะการทำงานของพนักงาน SMB ในหลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share