กองบรรณาธิการ
AIS ร่วมกับ ไวซ์ไซท์ ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล จัดงานและประกาศรางวัล Thailand Social AIS Gaming Awards 2023 ปีที่ 3 นับเป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูและยกย่องบุคคลในวงการเกมและอีสปอร์ตของไทยไม่ว่าจะเป็น สื่อ เกมเมอร์ สตรีมเมอร์ และแคสเตอร์ KOL ต่างๆ ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมและได้รับความนิยมสูงสุดบนโซเชียลมีเดียตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงานสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมา รวมถึงสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตให้มีความแข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากลต่อไป
นางสาวรุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ พันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าวว่า AIS มองเห็นโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของผู้พัฒนาเกมที่สร้างเกมรูปแบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา กลุ่มสื่อ KOL ที่เข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลาย เวทีการแข่งขันอีสปอร์ตทั้งในระดับประเทศและระดับโลก รวมถึงในปีที่ผ่านมา จำนวนผู้เล่นเกมในประเทศไทยที่มีมากกว่าถึง 38.3 ล้านคน เติบโต 5% หรือมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 ทำให้ AIS ยังคงเห็นความสำคัญที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตของไทยเติบโตเทียบชั้นระดับสากล จึงเป็นที่มาของการเดินหน้าจัดงาน Thailand Social AIS Gaming Awards ผ่านการทำงานร่วมกับ ไวซ์ไซท์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพราะเราเชื่อในพลังของพาร์ทเนอร์ที่จะมาร่วมกันสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมให้มีความแข็งแกร่งและเติบโตไปพร้อมๆ กัน เวทีนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของบุคคลที่อยู่ในวงการเกมและอีสปอร์ตในทุกแขนง ที่วันนี้เราขอ AIS เป็นแกนกลางในการสร้างคอมมูนิตี้ผ่านการผลักดันและจัดกิจกรรมในทุกๆ รูปแบบ
นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เดินทางสู่ปีที่ 3 ในการจัดงาน Thailand Social AIS Gaming Awards ร่วมกับ AIS ในปีนี้ ยังคงพัฒนาเกณฑ์การตัดสินรางวัลให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุดเพื่อสร้างมาตรฐานที่ดี พร้อมส่งเสริมให้วงการอีสปอร์ตทำผลงานออกมาอย่างสร้างสรรค์บนโซเชียลมีเดีย
Thailand Social AIS Gaming Awards 2023 ได้แบ่งรูปแบบของเกณฑ์การตัดสินรางวัลออกเป็น 2 รูปแบบ คือ BRAND METRIC และ CREATOR METRIC โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของ โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score ผ่าน 5 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมอง คือ
· Fundamental Factors ประกอบด้วย Followers, Reactions, Comment, Share, Brand Reply, YouTube and Instagram Views, และ Social Voice
· Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์, Sentiment, Facebook Tag Friend และ Facebook Intention to Buy
2. CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล และอินฟลูเอนเซอร์ โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel) ผ่าน 6 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, TikTok และ Twitch ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมอง คือ
· Fundamental Factors ประกอบด้วย Followers, Reaction, Comment, Share, YouTube, Instagram and TikTok Views และ Social Voice
· Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์, Sentiment และ Facebook Tag Friend
ในปีนี้ มีการแจกรางวัล จำนวนทั้งสิ้น 36 รางวัลให้กับเหล่า Game Publisher, Game Creator, Esports Player, Esports Club, รวมถึง Device และ Gadget ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียได้ดีที่สุด โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่มรางวัล ได้แก่ กลุ่มที่ 1. รางวัลประเภท Game Publisher จำนวน 14 รางวัล , กลุ่มที่ 2 รางวัลบุคคลสร้างสรรค์คอนเทนต์เกม จำนวน 6 รางวัล, กลุ่มที่ 3 รางวัลนักกีฬา Esports จำนวน 7 รางวัล, กลุ่มที่ 4 รางวัลสำหรับผู้ที่สร้างสรรค์คอนเทนต์เกมยอดเยี่ยมบนแพลตฟอร์ม YouTube และ TikTok จำนวน 2 รางวัล, กลุ่มที่ 5 รางวัลอุปกรณ์การเล่มเกม จำนวน 5 รางวัล , กลุ่มที่ 6 รางวัลบุคคลขวัญใจ AIS eSports Fanpage จำนวน 1 รางวัล และกลุ่มที่ 7 รางวัลสำหรับหน่วยงานที่ผลักดันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Esports ให้เป็นที่ยอมรับและเติบโตอย่างยั่งยืน จำนวน 1 รางวัล
#AIS #Wisesight #the3rdThailandSocialAISGamingAward #ThaiSMEs