ดีพร้อม ชู นโยบาย 4 โต เร่งขับเคลื่อน ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย

กองบรรณาธิการ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM หรือ ดีพร้อม) เร่งขับเคลื่อนนโยบาย 4 โต “ดีพร้อมโต” โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้น โดยเฉพาะการดัน ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ให้สยายปีกสู่สากล

ต่อนโยบายดังกล่าว นางสาวอังสนา โสมาภา  ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  ในปี 2566 ดีพร้อม กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชนมากกว่า 13,000 ราย และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท และดำเนินกิจกรรมพิเศษ เพื่อยกระดับประชาชนให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 15,600 ราย และตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมโต” โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้นผ่าน 4 กลไก ประกอบด้วย

• โตได้ (Start) เป็นกลไกที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตเป็นผู้ประกอบการใหม่ในชุมชน     สร้างเศรษฐกิจฐานราก ใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติของเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับให้เกษตรกรเติบโตสู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรอย่างดีพร้อม รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

• โตไว (Speed) เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างมาตรฐาน เพิ่มผลิตภาพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด

• โตไกล (Scale) เป็นกลไกเพิ่มประสิทธิภาพและขยายฐานการผลิตให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง เน้นการเปลี่ยนผ่าน (Transformation) สู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เพื่อขยายสู่ตลาดสากล

• โตให้ยั่งยืน (Sustainable) เป็นกลไกที่มุ่งสนับสนุนปัจจัยเอื้อที่ช่วยให้ธุรกิจยั่งยืน เข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.) ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 จึงถึงปัจจุบัน และในปี 2566 พร้อมเพิ่มเติมชื่อกิจกรรมเป็น “ดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag)” เพื่อเสริมความแข็งแกร่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสามารถขอการรับรองคุณภาพสินค้าภายใต้เครื่องหมาย Thailand Textiles Tag พร้อมสอดรับกับนโยบาย “ดีพร้อมโต” ภายใต้กลไก “ดีพร้อมโตไว (Speed)” เร่งช่วยผู้ประกอบการ SME อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ให้ดีพร้อมยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

นางสาวอังสนา  ยังกล่าวถึง ผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมที่ผ่านมา  ว่า จากการดำเนินงานใน 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2565  พบว่า เครื่องหมาย Thailand Textiles Tag หรือ ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตสินค้าสิ่งทอไทยและสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีสิ่งทอเป็นองค์ประกอบ ได้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นยอดขายได้ดีในสภาวะ

ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสรุปการดำเนินงานตลอด 3 ปี มีผู้ประกอบการสนใจยื่นขอการรับรองเครื่องหมาย Thailand Textiles Tag จนได้การรับรองตามหลักเกณฑ์เครื่องหมาย Thailand Textiles Tag ทั้งสิ้น 104 กิจการ 193 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ดีพร้อมยังได้มีการสำรวจและติดตามผลการการดำเนินงาน

ด้านยอดขาย พบว่า ในภาพรวมฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยสามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการได้

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 อีกทั้งยังก่อให้เกิดการลดการนำเข้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สิ่งทอเครื่องนุ่งห่มจากต่างประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมผู้ผลิตภายในประเทศให้เกิดการพัฒนาสินค้าอย่างมีคุณภาพ ยกระดับและสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคสู่มาตรฐานระดับสากล

“การดำเนินกิจกรรมดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมในปี 2566 (เฟสที่ 4) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในปี 2565 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) ทีผ่านมา มีมูลค่าการส่งออกรวม 6,850.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกใน 5 อันดับแรก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดจีนที่ปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.5 แต่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3, 4.0, 6.7 และ 3.6 ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ” นางสาวอังสนา  กล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tag มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ พร้อมลงพื้นที่ติวเข้มโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ปรึกษาคำแนะนำ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย และกระบวนการขอการรับรอง Thailand Textiles Tag เร่งสนับสนุนส่งเสริมเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองเครื่องหมายมากขึ้น และตรวจประเมินสถานที่ผลิต เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย เพิ่มการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ รวมทั้งส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทาง Market Place Online และ Offline และผลักดันสู่ตลาดสากล พร้อมรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้รับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งสร้างความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และเกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย ภายใต้ฉลาก DIPROM Thailand Textiles Tag โดยตั้งเป้ามีผู้ประกอบการผ่านการรับรองฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยไม่น้อยกว่า 30 กิจการ 40 ผลิตภัณฑ์ ในปี 2566 ทั้งนี้ ยังมีการพัฒนาระบบขอการรับรองฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยด้วยตนเองผ่าน www.thailandtextilestag.com ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขอการรับรองได้มากขึ้น

หากท่านใดสนใจข้อมูลก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร 0 2367 8279, 0 2367 8260 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook : ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ www.thailandtextilestag.com

#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share