เดลล์ ชี้ภาคธุรกิจถือคนทำงานสินทรัพย์สำคัญสูงสุพ ช่วยขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปทางดิจิทัล

กองบรรณาธิการ

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยงานวิจัยในกว่า 40 ประเทศ ชี้ช่วงเวลา 2 ปีแห่งความรีบเร่งในการปฏิรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัล ผู้นำองค์กรธุรกิจต่างตระหนักอย่างชัดเจนพนักงานคือผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงเดินไปผู้นำองค์กรธุรกิจในประเทศไทย 86% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 90%; ทั่วโลก: 85%) มองว่าบุคลากรคือสินทรัพย์สำคัญที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารในประเทศไทย 66.5% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 67%; ทั่วโลก: 67%)  เชื่อว่าองค์กรของตนมีการประเมินความต้องการด้านบุคลากรต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อมีการวางแผนโครงการ

ต่าง ๆ ด้านการเปลี่ยนแปลง

พนักงานทั้งหมดในประเทศไทย 74% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 77%; ทั่วโลก: 72%) กล่าวว่าองค์กรตนต้องมอบระบบโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ในแนวทางที่เหมาะสำหรับทุกคน

หลังจากช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาที่องค์กรธุรกิจต่างเร่งปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล ราวครึ่งหนึ่งของผู้นำด้านไอทีในประเทศไทย หรือ 58%  (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 45%; ทั่วโลก: 50%)  กล่าวว่าองค์กรของตนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการปฏิรูปคนทำงานสู่ระบบดิจิทัล แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานหลายคนกำลังเจอปัญหาท้าทายในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องตามการสำรวจครั้งใหม่ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ มากกว่าสองในสามของผู้ตอบจำนวน 10,500 รายจากกว่า 40 ประเทศ เชื่อว่าองค์กรของตนประเมินต่ำเกินไปในเรื่องการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมในการวางแผนโปรแกรมการปฏิรูป

ผลสำรวจเน้นให้เห็นว่าช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจและคนทำงานต้องการเวลาในการปรับตัว เตรียมใจ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามโครงการใหม่หรือโครงการที่หยิบมาทำซ้ำ แม้ว่าช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจะเห็นถึงความมุ่งมั่นพยายามและความก้าวหน้าอย่างมากก็ตาม โดยผลวิจัยเน้นว่ายังคงมีแนวโน้มว่าการปฏิรูปจะเกิดการสะดุด โดยผู้ตอบในประเทศไทย 69% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 72%; ทั่วโลก: 64%) เชื่อว่าการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากคนในองค์กรอาจทำให้การปฏิรูปไม่ประสบผลสำเร็จ กว่าครึ่งของผู้ตอบในประเทศไทยจำนวน 54% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 62%; ทั่วโลก: 53%)  กลัวว่าจะตัวเองจะถูกปิดกั้นจากความก้าวหน้าของโลกดิจิทัล เนื่องจากขาดผู้ที่มีอำนาจ/มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมจะนำโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเรื่องนี้ก็ทำให้โมเดล As-a-Service กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายธุรกิจ

“ในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นและเหมาะสมสำหรับทุกคน เราต้องเข้าใจก่อนว่าความสำเร็จทางธุรกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานนั้นคือสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก การวิจัยล่าสุดของเราแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่ให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นจากการมาบรรจบกันระหว่างคนและเทคโนโลยี การจะบรรลุความก้าวหน้าครั้งสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาแนวทางใน 3 แง่มุมด้วยกัน ประการแรกคือมอบประสบการณ์การทำงานที่ต่อเนื่องและปลอดภัยให้กับพนักงาน ไม่ได้กำหนดว่าทำงานจากที่ไหน ประการที่สอง ช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานด้วยการนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเพื่อช่วยให้พนักงานมุ่งเน้นกับงานที่ทำได้ดีที่สุด ประการสุดท้ายคือการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่เข้าอกเข้าใจรวมถึงความเป็นผู้นำที่แท้จริง” อามิต มิธา ประธาน เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และGlobal Digital Cities เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว

“องค์กรส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปฏิรูปทางดิจิทัล แต่พวกเขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และบุคลากรที่อยู่ในองค์กรก็ไม่ได้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอไป ความขัดแย้งระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์นี้ประกอบกันขึ้นมาเพียงจากการแพร่ระบาดของโรค ทำให้สุดท้ายแล้วเราต้องเข้าสู่การทำให้ธุรกิจความสามารถตอบสนองต่อวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็ทำให้หลายๆ คนอ่อนแรงไปไม่ใช่น้อย” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหม่ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวเสริม “วันนี้ องค์กรธุรกิจที่ปรารถนาความสำเร็จอย่างยั่งยืนต้องถามตัวเองว่าพวกเขาจะสามารถช่วยพนักงานของตนนำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นต่อไปได้อย่างไร”

ปัจจุบัน นับเป็นช่วงเวลาที่องค์กรจะต้องประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเริ่มโครงการใหม่ในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าคนทำงานจะได้รับการสนับสนุนและมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานในขั้นตอนถัดไป

เปรียบเทียบเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

เดลล์และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านพฤติกรรมได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจความพอใจในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของผู้เข้ารับการสำรวจ และพบว่าคนทำงานในประเทศไทย 30% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 7%; ทั่วโลก: 10%)  ตั้งแต่ผู้นำธุรกิจระดับอาวุโส ตลอดจนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีและพนักงาน กำลังดำเนินการตามโครงการปรับปรุงความทันสมัยให้กับองค์กร จำนวนน้อยกว่าครึ่งของคนทำงานในประเทศไทย 19% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 46%; ทั่วโลก: 42%)  ตอบรับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ หรือยังลังเลอยู่

ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย 2% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 78%; ทั่วโลก: 72%)  บอกว่าอยากให้องค์กรของตนมอบระบบโครงสร้างและเครื่องมือที่จำเป็นที่ช่วยให้ทำงานได้จากทุกที่ (พร้อมให้อิสระในการเลือกรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ) ในความเป็นจริง คนเหล่านี้ต่างกังวลว่าพนักงานของตนจะถูกทิ้งอยู่ข้างหลังเนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเวลาที่เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (ซึ่งการทำงานและการประมวลผลไม่ได้ผูกกับส่วนกลาง แต่เกิดขึ้นได้ทุกที่)

ปัจจุบัน คนทำงานในประเทศไทย 32% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 32%; ทั่วโลก: 37%)  บอกว่างานของตนได้รับการส่งเสริมและไม่จำเจ การที่มีโอกาสเปลี่ยนงานที่ต้องทำซ้ำๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติได้มากขึ้น ทำให้พนักงานในประเทศไทย 73% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น:74%; ทั่วโลก: 69%) มุ่งหวังว่าจะเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ เช่นทักษะด้านความเป็นผู้นำ หลักสูตรด้านแมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือมุ่งเน้นที่โอกาสในเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเพื่อต่อยอดหน้าที่การงาน 

#เดลล์เทคโนโลยีส์ #เดลล์ #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share