พลิกโฉมเกษตรกรไทยด้วย AgTech

กองบรรณาธิการ

ในฐานะ CEO ผู้ก่อตั้ง ListenField เราไม่ได้เติบโตจากการเป็นนักธุรกิจ แต่เราคือนักวิจัย เราคือหนึ่งในกลไกที่เข้าไปช่วยในการแก้ปัญหา และพัฒนาการเกษตรของไทยให้มีคุณภาพ กลายเป็นความภูมิใจและความสุขที่ได้ทำงานในทุกๆ วัน” คำกล่าวของ ดร. รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์, CEO บริษัท ListenFied

ภาคการเกษตรถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย แม้ว่าทุกวันนี้ เราจะมีเกษตรกรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการเพาะปลูกมากพอ แต่ในอีกมุมนึงเราต้องยอมรับว่าปัญหาใหญ่ที่ยังคงฝังรากลึกในภาคเกษตรกรรมไทย คือ ปัญหาโครงสร้างการเกษตรเชิงนโยบาย ที่ไม่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และปัญหาโครงสร้างพื้นฐานของระบบบริหารจัดการน้ำ ที่ยังคงต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเกษตรกรไทยจะต้องทำความเข้าใจ และนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ อย่างจริงจัง ทั้งการวิเคราะห์สภาพอากาศ การคาดการณ์ผลผลิตและวันเก็บเกี่ยว การคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น การวางแผนค่าใช้จ่ายและจัดการ Demand & Supply ฯลฯ เพื่อก้าวข้ามปัญหาดังกล่าว

ความท้าทายเหล่านี้ สะท้อนผ่านมุมมองของบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง ListenField ที่มีภารกิจหลักในการมุ่งปฏิรูประบบการเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยี AI และ API มาช่วยยกระดับการทำเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง FARMAI และ Data Driven Breeding สิ่งเหล่านี้คือเรื่องคุณจะได้เรียนรู้ไปกับเราในรายการ open talk EP. 24 ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ – CEO บริษัท ListenField และเจ้าของผลงานวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ “API Integration Platform from Agronomic Models”

พร้อมประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

➢ เส้นทางสู่โอกาสการพัฒนาแพลตฟอร์มและการร่วมงานกับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อปฏิรูปภาคการเกษตร

➢ ListenField นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาที่ฝังรากลึกให้เกษตรกรในประเทศไทยได้อย่างไร

➢ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทย

➢ ความท้าทายและความพร้อมของเกษตรกรไทยในปัจจุบัน

รับชมบทสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่: https://youtu.be/ViVEsbYReQg

#ListenField #TCCtechnologyGroup #TCCtech #AgTech #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share