กองบรรณาธิการ
บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ในนาม ดีมันนี่ (DeeMoney) บริษัทฟินเทคผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจโอนและชำระเงินข้ามประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทย เผยระบบเศรษฐกิจและภาคการเงินไทย เข้าสู่ยุคโลกการเงินดิจิทัลไร้พรมแดน 100% สะท้อนจากจำนวนผู้ใช้บริการโอนเงินข้ามประเทศผ่านแพลตฟอร์ม เจาะ 3 กลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ ลูกค้าบุคคล MSME และพาร์ทเนอร์ ที่ต้องการเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์ม (Platform) ภายใต้ชื่อ DPaaS
ทางดีมันนี่เผยถึงยอดธุรกรรมที่บริษัทฯ ให้บริการในปี 2564 มีมากถึง 2.2 ล้าน คิดเป็นมากกว่า 64,000 ล้านบาท หรือ 2 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจการชำระเงินและโอนเงินระหว่างประเทศ โดยได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งมีส่วนในการเร่งการปรับตัวของผู้ใช้งานให้เข้าสู่สังคม ไร้เงินสด (Cashless society) มากขึ้น
นายอัศวิน พละพงศ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งดีมันนี่หรือ DeeMoney (บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด) กล่าวว่า ปัจจุบันดีมันนี่ ถือเป็นผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ชั้นนำของประเทศไทย ด้วยจุดแข็งในเรื่องของค่าธรรมเนียมคงที่ (Flat Fee) อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่ดีที่สุด การให้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย และการให้บริการที่ครอบคลุมหลากหลายประเทศต้นทางและปลายทางถึง 60 ประเทศทั่วโลก อีกหนึ่งจุดแข็งของดีมันนี่ยังอยู่ที่เครือข่ายคู่ค้าทางธุรกิจที่แข็งแกร่งมากกว่า 30 ราย ที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินด้านการให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Wallet)
ในปีนี้บริษัทฯ มุ่งก้าวขึ้นสู่การเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) บริการทางการเงินระหว่างประเทศระดับโลก เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นศูนย์กลาง (Hub) ผ่านบริการเชื่อมต่อ DPaaS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนบริการโอนเงินและการชำระเงินระหว่างประเทศที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการให้บริการลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมถึงช่วยลดต้นทุนในการพัฒนา
ก้าวสำคัญของดีมันนี่ในการขยายขีดความสามารถการให้บริการครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยและทั่วโลก โดยใช้ 4 กลยุทธ์สำคัญในการเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่
1. ขยายประเทศผู้รับเงินปลายทาง (Outbound corridor) โดยวางเป้าหมายที่ 50 ประเทศปลายทาง
2. เชื่อมต่อธนาคารพานิชย์ไทยสำหรับบริการ Inbound Payout เพื่อขยายเครือข่ายการรับเงินโอนจากต่างประเทศ (Inbound remittance) ให้ครอบคลุมบัญชีธนาคารต่างๆ ในประเทศ
3. จับมือร่วมกับพันธมิตรเพิ่มพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นธนาคารและผู้ให้บริการประเภท Non-Bank ต่างๆ ใน Ecosystem เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เปิดกว้าง รวมไปถึงพัฒนาบริการใหม่ๆ ในการขยายบริการใหม่และบริการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยใช้ประโยชน์จากช่องทางการให้บริการที่ได้มาตรฐาน เพื่อครอบคลุมทุกรูปแบบการทำธุรกรรมใน Ecosystem ทำให้มีทางเลือกการจ่ายเงินและ รับเงินหลายวิธี
4. แผนการพัฒนา Talent Acquisition จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
จากกลยุทธ์ทั้งหมดของ DeeMoney มุ่งเน้นไปที่ Coopetition หมายถึง การทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการรายอื่นมากกว่าการมองว่าเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ หรือสร้างการแข่งขัน เพราะ DeeMoney เชื่อว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบ Coopetition จะสร้างมูลค่า ให้กับ Payment Ecosystem ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ที่จะส่งผลดีต่อลูกค้าหรือผู้ใช้บริการได้ดีที่สุด มากกว่าการแข่งขันโดยไม่แบ่งปันมูลค่า ให้แก่ Ecosystem มีแต่จะสร้างผลเสียต่อ Financial Ecosystem โดยรวม
สำหรับปี 2565 บริษัทฯ ตั้งเป้าให้ธุรกิจระหว่างประเทศเติบโตที่ 30% โดยให้ความสำคัญไปที่ 3 กลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่
1. กลุ่มลูกค้าบุคคลรายย่อย ผ่านช่องทาง Mobile Application “DeeMoney Neo” ซึ่งบริษัทฯ มีเป้าหมายพัฒนาเป็น Borderless NeoBank เป็นโซลูชั่น Send, Spend, Save, Receive ของบริการทางการเงินระหว่างประเทศเต็มรูปแบบ
2. กลุ่มลูกค้า Business และผู้ประกอบการ MSME ผ่านช่องทาง “DeeBusiness Portal” เพื่อเป็น Supply Chain กับผู้ประกอบการ ให้เกิดความสะดวก ประหยัด ปลอดภัย
3. กลุ่มลูกค้าสถาบันการเงิน (Financial Institution) ผ่านเทคโนโลยีแพลตฟอร์มบริการทางการเงินที่เรียกว่า DPaaS โดยให้ลูกค้ากลุ่มสถาบันทางการเงิน สามารถเริ่มให้บริการทางการเงินโดยใช้การ Plug-and-Play เข้ากับแพลตฟอร์มของบริษัทฯ
แอพพลิเคชัน DeeMoney Neo สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android พร้อมลงทะเบียนโดยใช้นวัตกรรม eKYC ได้ด้วยตนเองเพียงขั้นตอนง่ายๆ ยิ่งไปกว่านั้นจะมีการนำเทคโนโลยี NFC Passport reader เข้ามาใช้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถลงทะเบียนได้ง่ายยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนในการยื่นและจัดเก็บเอกสารแสดงตน โดยล่าสุดเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับรางวัล Business Innovation Awards 2022 ประเภทการเงิน จาก Business+ ร่วมกับ CMMU
ในส่วนของ “DeeBusiness Portal” บริษัทฯ เน้นไปที่การเพิ่มฟีเจอร์การให้บริการรับโอนเงินจากต่างประเทศ และพัฒนาบริการปัจจุบันให้สะดวกยิ่งขึ้น นับว่าเป็นการลดการพึ่งพาช่องทางจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว สามารถลดภาระด้านเอกสาร และลดต้นทุนจากค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง
สำหรับแผนโรดแมพสำคัญของบริษัทฯ ในระยะถัดไป ได้แก่ การพัฒนาระบบโครงสร้างเทคโนโลยีให้รองรับการให้บริการออกบัตรร่วมกับบริษัทฯ VISA เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถชําระเงินได้ทั่วโลก และแผนโรดแมพในการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในสกุลเงินต่างประเทศภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มเติมจากบริการโอนเงินระหว่างประเทศ บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Wallet) อีกด้วย
#ดีมันนี่ #DeeMoneyNeo #DeeBusiness #ThaiSMEs