Business Talk:
เบอร์นาร์ด เทย์ ผู้อำนวยการ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมซอน เซลเลอร์ เซอร์วิส
วันนี้เราเดินทางมาถึงครึ่งแรกของปี 2563 แล้ว ตลอดปีนี้ วิกฤติการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบมากมาย รวมทั้งต่อเศรษฐกิจไทยในหลาย ๆ ภาคธุรกิจ ขณะที่สถานการณ์ต่าง ๆ กำลังเริ่มคลี่คลาย และวิถีชีวิตผู้คนกำลังปรับตัวสู่ New Normal อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ได้เปิดเผย ว่า ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซและแนวทางสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่โลกยุค New Normal
กระแสโลกาภิวัฒน์ยังคงเดินหน้าต่อไป ธุรกิจต้องรู้จักไขว่คว้าโอกาสทางการค้าข้ามพรมแดน วิกฤติการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่าง ๆ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้กระนั้น กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ของการค้าระหว่างนานาประเทศทั่วโลกมายาวนานหลายสิบปีก็มีส่วนช่วยอย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหา การสนับสนุนสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ ตลอดจนการบริจาคช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ จากวิกฤติครั้งนี้
ด้วยหลักการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับลูกค้า อเมซอนได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านกำลังการผลิตและซัพพลายเชนที่มีในมือมาร่วมกันฟันฝ่าสถานการณ์ท้าทาย ผู้ค้าหลายรายในเอเชียแปซิฟิกยังได้ร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการบริจาคปัจจัยจำเป็นต่าง ๆ
วิกฤติระดับโลกครั้งนี้ทำให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกว่าเดิม และกลับมาทบทวนถึงความสำคัญของโลกาภิวัฒน์ผ่านมุมมองสู่อนาคตในระยะยาว อเมซอน เชื่อว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่ขยับขยายจากช่องทางการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์สู่ออนไลน์จะเป็นแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว ในสหรัฐอเมริกา ความถี่ในการช็อปปิ้งออนไลน์พุ่งสูงขึ้นถึง 14% ในสินค้าทุกประเภท (จากข้อมูลใน รายงาน โดยแมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี) ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจล่าสุดในพื้นที่การค้าสำคัญของโลกอย่าง สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ มีผู้บริโภคจำนวนมากที่มีแนวโน้มที่จะยังคงซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่อไปแม้หลังจากผ่านช่วงการระบาดของโควิด-19 ไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ธุรกิจต่าง ๆ ก็กำลังขยับตัวสู่บริการและช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 และให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ความจำเป็นในการปฏิวัติดิจิทัลจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบริษัทที่ทำการค้าในต่างประเทศ เราจึงต้องยิ่งคิดทบทวนว่าจะช่วยเสริมความแกร่งให้ผู้ค้าอย่างไรในการเร่งปฏิวัติธุรกิจสู่ดิจิทัลและปรับตัวสู่ New Normal
จาก รายงาน ล่าสุดขององค์การการค้าโลกเผยว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างชัดเจนให้เห็นว่าอีคอมเมิร์ซมิได้เป็นเพียงเครื่องมือและโซลูชั่นสำคัญสำหรับผู้บริโภคในภาวะวิกฤตเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำหรับทั้งการสร้างการเติบโตภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี ในช่วงที่ผ่านมาจึงเห็นได้ว่าหลายประเทศได้ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทย หน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ออกมาตรการทั้งด้านการเงินและด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยจำนวนผู้ค้าจากภาคเอสเอ็มอีที่มีมากมายในปัจจุบัน จึงมีการประเมินว่าภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของไทยจะเติบโตในอัตราที่สูงในปี 2563 นี้ และโตต่อเนื่องไปอีกหลายปี สอดคล้องกับประมาณการอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดอีคอมเมิร์ซรวมของไทยจาก 5 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2562 เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์ในปี 2568 ด้วยจุดแข็งของประเทศในภาคการผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตร มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งในระดับอุตสาหกรรมใหญ่และระดับวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ไทยจึงมีข้อได้เปรียบในการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจเหล่านี้เพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 ธุรกิจไทยที่กำลังมองหาหนทางในการขยายสู่ต่างประเทศน่าจะต้องการทำอะไรบางอย่างเพื่อโอกาสในการฟื้นฟูธุรกิจ
โร้ดแม็พสู่ปี 2568 ยกระดับทักษะเพื่ออนาคตในระยะยาว
เห็นได้ว่ามีผู้ค้าหลายรายสามารถอยู่รอดได้ในช่วงโควิด-19 ระบาด เพราะอาศัยความกล้าในการแสวงหาและฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ แต่ในการสร้างความสำเร็จในระยะยาว ผู้ค้าควรจะคิดและรู้เท่าทันกระแสโลก และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และคุณภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ทั่วโลก