หัวเว่ย จับมือ บางกอกโพสต์ และมูลนิธิอาเซียน เปิดทางฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังโควิดด้วยนวัตกรรมยุคดิจิทัล

กองบรรณาธิการ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับบริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิอาเซียน และพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมไอซีทีอีกกว่า 50 รายทั่วไทย จัดงาน POWERING DIGITAL THAILAND 2022 HUAWEI CLOUD & CONNECT ASIA PACIFIC INNOVATION DAY ภายใต้หัวข้อ ปลดล็อคศักยภาพใหม่ทางธุรกิจ ฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในยุคหลังโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยียุคดิจิทัล ทั้งยังเป็นการตอกย้ำถึงจุดยืนของหัวเว่ยที่ยังคงเชื่อมั่นในประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะผลักดันภูมิภาคอาเซียนให้มุ่งสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านการลงทุนและอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์ในพื้นที่ ภายในงานดังกล่าวยังได้จัดแสดงเทคโนโลยีไฮไลท์ เช่น คลาวด์เพื่อการเกษตร นวัตกรรม AI เพื่ออุตสาหกรรมการผลิต และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพลังงานสะอาด สำหรับประยุกต์ใช้กับประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ภายใต้กลยุทธ์ที่แข็งแกร่งในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีให้แก่ประเทศไทย ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทยและระบบเศรษฐกิจของข้อมูลเติบโตเป็นอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยจะมีสัดส่วนถึง 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภายในปี พ.ศ. 2573

นายณัฐพล รังสิตผล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะถูกปรับใหม่ในยุคหลังโควิด-19 จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมดิจิทัลใหม่ ๆ อาทิ 5G AI IoT ต่างช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับกับอุตสาหกรรม 4.0

ดร. ยาน เรนโต อิง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สถาบันวิจัยนวัตกรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย ยังได้ขึ้นกล่าวในงานครั้งนี้ว่า “ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เปิดโอกาสให้สามารถเข้าร่วมงานอันทรงเกียรติในครั้งนี้ เราขอขอบคุณหัวเว่ยเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างรูปแบบความร่วมมืออันยอดเยี่ยมกับประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะความร่วมมือกับสถาบันวิจัยนวัตกรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย”

นาย กัว ผิง ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระ บริษัท หัวเว่ย กล่าวว่าโควิด-19 ส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเชื่อมั่นในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 ของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะ 5G คลาวด์ และ AI จะกลายเป็นเสาหลักของการฟื้นตัวและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ

“หัวเว่ยจะยังคงสร้างนวัตกรรมและอีโคซิสเต็มของเทคโนโลยีต่อไป เพื่อช่วยให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสามารถก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วขึ้น เราได้ใช้ 5G คลาวด์ และ AI เพื่อช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเราจะมุ่งมั่นสร้างนวัตกรรมให้แก่โซลูชันคลาวด์และ AI ของเราต่อไป เพื่อสร้างคุณค่าที่แข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจต่างๆ ในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งนี้ เราวางแผนจะลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงสามปีต่อจากนี้เพื่อช่วยสร้างอีโคซิสเต็มให้แก่สตาร์ทอัพในภูมิภาค หัวเว่ยเชื่อมั่นว่าทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะประสบความสำเร็จในการผลักดันตัวเองเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยจะวางรากฐานอันแข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ เพื่อรองรับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอีก 10 ปีข้างหน้า” นาย ผิง กล่าว

นายวรชัย พิจารณ์จิตร รองประธานกรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างเครือบางกอกโพสต์และหัวเว่ย ประเทศไทย ว่าบางกอกโพสต์ มูลนิธิอาเซียน และหัวเว่ยได้ร่วมมือกันจัดงาน POWERING DIGITAL THAILAND 2022 HUAWEI CLOUD & CONNECT ASIA PACIFIC INNOVATION DAY เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อร่วมกันศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแอปพลิเคชันจากเทคโนโลยีคลาวด์ 5G AI หรือพลังงานดิจิทัล ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในแต่ละอุตสาหกรรม เราจะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั้งหลายในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสำรวจถึงแนวทางการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ปลดล็อคศักยภาพใหม่ทางธุรกิจ ตลาดใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ ให้แก่องค์กรธุรกิจทุกรูปแบบและทุกขนาดในประเทศไทยที่กำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19

ด้าน ดร. หยาง มี เอ็ง กรรมการบริหารของมูลนิธิอาเซียนได้กล่าวถึงความร่วมมือในการจัดงานในครั้งนี้ว่า การจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการนำผู้นำในส่วนของภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ผู้นำความคิด และนักวิชาการต่างๆ มาร่วมกันจุดประกายไอเดียนวัตกรรม ICT ใหม่ๆ และเปิดทางให้เกิดการฟื้นตัวในยุคหลังโควิด-19 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น

ด้าน ดร. ลี ขวน หลาน ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย ICT และการท่องเที่ยว สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้กล่าวย้ำว่า ขุมพลังของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพในการผลักดันให้ธุรกิจต่างๆ สามารถขยับขยายโมเดลธุรกิจของพวกเขาไปในระดับภูมิภาค ดังนั้น ทุกฝ่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกควรจะประยุกต์ใช้แนวทางพื้นฐานของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

นายหลิน ไป่เฟิง ประธานบริหาร หัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่าในฐานะหนึ่งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายและมีประชากรมากที่สุดของโลก เอเชียแปซิฟิคกำลังเดินหน้าไปสู่การเป็นภูมิภาคด้านดิจิทัลแถวหน้าของโลก ด้วยความร่วมมือกว่า 20 ปี และการให้การสนับสนุนแก่ภูมิภาคนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลของประเทศไทย และภูมิภาค ครอบคลุมสามด้านคือ การเชื่อมต่อและความอัจฉริยะ การพัฒนาด้านการลดการปล่อยคาร์บอน และการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล

ด้านนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ยังกล่าวถึงเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและพันธกิจของหัวเว่ยในตลาดประเทศไทยว่าประเทศไทยผันตัวเป็นขุมพลังด้านดิจิทัลชั้นนำในอาเซียน ทั้งนี้ หัวเว่ยจะมุ่งมั่นผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทยซึ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่าน 4 แนวทางหลัก แนวทางแรกคือ การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมทั่วถึงผ่านเทคโนโลยี 5G โดยการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่างๆ แนวทางที่สองคือ หัวเว่ย คลาวด์ โดยเราจะสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลอัจฉริยะในประเทศไทยผ่านบริการคลาวด์ทุกรูปแบบ ซึ่งปัจุบันหัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกเพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย ทั้งยังเตรียมขยายศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามเพื่อรองรับการให้บริการภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ แนวทางที่สามคือ การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับแนวทางการพัฒนาที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2593 ตามกลยุทธ์ของประเทศ และแนวทางที่สี่คือ การสร้างอีโคซิสเต็มแห่งนวัตกรรมอันอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย ด้วยศูนย์ 5G ecosystem innovation center โครงการ Spark Program และโครงการ Huawei ASEAN Academy รวมถึงโครงการสำหรับบ่มเพาะทักษะดิจิทัลต่างๆ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการลดคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเรามั่นใจว่าประสบการณ์ในธุรกิจพลังงานกว่า 30 ปีของหัวเว่ย พร้อมด้วยนักวิจัยในสายอุตสาหกรรมพลังงานมากกว่า 6,000 คน และการแบ่งสัดส่วนรายได้ของเราเกือบ 15% เพื่อใช้เป็นงบประมาณด้านการวิจัยพัฒนาในทุก ๆ ปี จะทำให้เราสำเร็จตามเป้าหมายนี้ได้

หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าจับตามองในอีเวนท์ครั้งนี้คือพลังงานอัจฉริยะดิจิทัลพาเวอร์ โดยหัวเว่ยได้เปิดตัวส่วนธุรกิจดิจิทัลพาวเวอร์ในตลาดประเทศไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานสะอาดที่จะเข้ามาทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลแบบดั้งเดิม ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและผลักดันพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการสร้างสังคมอัจฉริยะที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ทั้งนี้ ส่วนธุรกิจดิจิทัลพาวเวอร์ของหัวเว่ยจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในด้านลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปรับเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า และด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลในปริมาณมหาศาล ต่อยอดเป็นเทคโนโลยี AI (intelligentalization) ผ่านการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ อาทิ ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่และ Smart PV โครงข่ายการชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลดาต้าอัจฉริยะ และศูนย์พลังงานสีเขียว โดยปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการแก่ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยมากกว่า 1,000 ราย

ทั้งนี้ เทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับการจัดแสดงภายในงาน POWERING DIGITAL THAILAND 2022 HUAWEI CLOUD & CONNECT ASIA PACIFIC INNOVATION DAY ครั้งนี้ ประกอบด้วย นวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมพลังงานอัจฉริยะซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศไทย โดยนวัตกรรมแรกได้แก่ Cloud Tractor Training ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้ลองฝึกขับรถแทรกเตอร์การเกษตรผ่านเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งเกษตรกรไทยสามารถใช้ฝึกฝนการขับรถแทรกเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ Machine Vision Product Line ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี AI ไปติดตั้งกับกล้องตรวจเช็คคุณภาพสินค้าจากโรงงานผลิต ด้วยความแม่นยำในการตรวจสอบถึง 90% ช่วยลดการใช้แรงงานคนได้ถึง 70%

#หัวเว่ย #บางกอกโพสต์ #มูลนิธิอาเซียน #นวัตกรรมยุคดิจิทัล #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share