เรนท์สพรี สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ในอเมริกา ตั้งเป้าสู่ระดับยูนิคอร์น

กองบรรณาธิการ

เรนท์สพรี (RentSpree) หนึ่งในสตาร์ทอัพสัญชาติไทยในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับเงินลงทุนรอบ Series A มูลค่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 250 ล้านบาท เรนท์สพรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 โดยเป็น Prop-Tech Start Up ที่มี 1 ใน Co-Founder คนไทย เอกบุตร สิริศุภางค์ และเรนท์สพรี เป็นแพลตฟอร์มเช่าอสังหาริมทรัพย์ (Rental Management Software) ที่ช่วยให้กระบวนการเช่าบ้านในสหรัฐอเมริกาง่ายขึ้นกว่าเดิม

เรนท์สพรี เป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จักใน 50 รัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ในด้านกระบวนการคัดกรองผู้เช่าที่ใช้งานง่าย การจัดการผู้เช่า โปรแกรมสำหรับพาร์ทเนอร์ และ API ในการคัดกรองการเช่า ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 ปี เท่านั้น ในการขยายฐานข้อมูล โดยการเป็นพันธมิตรกับองค์กรที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการให้บริการ ของนายหน้า เจ้าของ และผู้ให้เช่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน เรนท์สพรี มีผู้ใช้บริการมากกว่า 600,000 ราย โดยได้ให้ความช่วยเหลือเจ้าของบ้านและเอเย่นต์กว่า 100,000 คน ในการทำธุรกรรมการเช่าบ้านกว่า 500,000 ราย และยังคงมีแนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตมากกว่า 2 เท่าในทุก ๆ ปี

นอกจากนี้ เรนท์สพรี ยังได้รับเงินลงทุน Series A มูลค่ากว่า 250 ล้านบาท จาก 654 Venture ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ร่วมลงทุนกับ เรนท์สพรี ตั้งแต่ Seed Round เป็น Lead Investor พร้อมด้วย Green Visor Capital และ Vesta Ventures

เรนท์สพรี ประกอบด้วย 4 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่

– Collaboration การทำงานเป็นทีม

– Innovation บริษัทได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเพื่อเป็นผู้นำตลาดในอนาคต

– Impact คือ การทำในสิ่งที่สร้าง Impact ให้กับลูกค้าและผู้ใช้บริการ

– Integrity ที่ RentSpree ทุกคนคือหนึ่งเดียวกัน ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

สำหรับเป้าหมายในอนาคต บริษัทคาดว่า ภายในปี 2022 เรนท์สพรี จะเป็น all-in-one application สำหรับการเช่าบ้านที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมีเป้าหมายเป็น 1 ใน 10 สตาร์ทอัพ ที่น่าทำงานที่สุดในประเทศไทย และไปสู่ระดับยูนิคอร์น (Unicorn)

#เรนท์สพรี #แพลตฟอร์มเช่าอสังหาริมทรัพย์ #RentalManagementSoftware #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share