TCP เปิดตัวโครงการการศึกษาระยะยาว TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส ช่วยครูและนักเรียน มุ่งสร้างอนาคตสังคมไทย

 กองบรรณาธิการ

กลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยอย่างยั่งยืน ผนึกกำลังพันธมิตรทางการศึกษาที่หลากหลาย เปิดตัวโครงการ TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส โครงการระยะยาว 5 ปีด้านการศึกษา มุ่งช่วยทั้งครูและนักเรียนให้ได้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มศักยภาพตัวเอง เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้และการทำงานในโลกอนาคต

TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส มีระยะเวลา 5 ปี จุดเด่นคือมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยทำงานกับ​ทั้งครูและนักเรียนผ่านทางการร่วมมือกับพันธมิตรทางการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์การศึกษาแห่งอนาคต สร้างเครื่องมือทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถสร้างสรรค์กระบวนการเรียนการสอนที่มีความหมายและมีความสุข รวมถึงสร้างโอกาสให้นักเรียนที่ขาดแคลน ปัจจุบันมีพันธมิตรเริ่มต้นในสองโครงการ ได้แก่ โครงการดูแลพัฒนาศักยภาพครู โรงเรียนปล่อยแสง ที่ร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการ ‘ทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้อง’ ที่ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สนับสนุนการสร้างระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ผ่านการมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนช่วงชั้นรอยต่อเพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจ TCP ผนึกกำลังกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) เร่งให้ความช่วยเหลือดูแลสุขภาพและการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านโครงการกลไกอาสาสมัครคุณภาพอย่างเร่งด่วน

 วิกฤตโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษารุนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มธุรกิจ TCP จึงริเริ่มโครงการระยะยาว 5 ปี TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าวดำเนินงานตามกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ Integrity, Quality และ Harmony โครงการ ‘TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส’ สอดคล้องกับเสาหลักด้าน Harmony ที่มุ่งสร้างชุมชนยั่งยืนผ่านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น” นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าว

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมุ่งเน้นการทำงานกับครู เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนและจะส่งผลต่อผู้เรียนอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมกำลังคน รวมถึงการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนภายใต้แนวคิดการศึกษาฐานสมรรถนะ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับชุมชนและสังคม โดยจะเริ่มจาก 12 โรงเรียนนำร่อง ซึ่งครูที่ผ่านกระบวนการนี้จะสามารถสร้างสรรค์การเรียนรู้แบบใหม่ และจะช่วยวางรากฐานของการศึกษาที่มีความหมายและมีความสุขต่อไป

ด้าน ดร. ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การพัฒนาประเทศที่สำคัญสำหรับประเทศไทยในยุค COVID-19 คือการรักษาเด็กเยาวชนทุกคนให้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ และมีโอกาสที่เสมอภาคในการพัฒนาเต็มศักยภาพและความถนัดเป็นรายบุคคล

อย่างไรก็ตามโควิด-19 ได้ทำให้สถานการณ์การหลุดนอกระบบการศึกษามีแนวโน้มวิกฤตขึ้น เด็กนักเรียนกว่า 43,000 คนได้หลุดออกจากระบบการศึกษา และหากประมาณการจากข้อมูลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ จะมีเด็กๆ ถึง 1.9 ล้านคนที่กำลังเผชิญความเสี่ยงเดียวกัน ทั้งที่เด็กไทยมีศักยภาพสูง โครงการทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้องที่ กสศ. ร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ TCP จะช่วยสร้างหลักประกันทางการศึกษาเพื่อไม่ให้มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาไทยเพิ่มขึ้น พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ กลับมามีความฝันในชีวิตอีกครั้ง ซึ่งเราจะมอบทุนตลอดหนึ่งปีการศึกษาให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 จำนวน 400 คนในกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ โดยโครงการฯ ยังมีการใช้ฐานข้อมูลเพื่อระบุเด็กกลุ่มเสี่ยง และมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาตั้งแต่แรกเริ่ม

ทั้งนี้ โครงการ TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส วางกรอบการพัฒนาด้านการศึกษาไว้ 3 ด้าน เพื่อพิจารณารับพันธมิตร คือ

1. ส่งเสริมวิชาการและความรู้แกนกลางในห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

2. ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตด้วยกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงพัฒนาศักยภาพให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเป็นอาชีพจริงได้ในอนาคต

3. สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงทั้ง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน บ้าน และชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนโครงการ TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส วางเป้าหมายตลอดระยะ 5 ปีของโครงการ โดยจะมีครูที่ได้รับการเพิ่มทักษะรวม 500 คน มีนักเรียนที่เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพรวม 100,000 คน โรงเรียนที่ได้รับประโยชน์ 100 แห่ง และสร้างการมีส่วนร่วมกับ 100 ชุมชนหรือพื้นที่การเรียนรู้ โดยการสร้างสรรค์การศึกษาที่มีประสิทธิภาพถือเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศต่อไปอย่างยั่งยืน

#TCPปลุกความรู้สู่โอกาส #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share