ZTE ร่วมกับ AIS และ มทส. นำเทคโนโลยี 5G เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมไทย

 กองบรรณาธิการ

ZTE Corporation ร่วมกับ AIS และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นำเทคโนโลยี 5G ในสายการผลิต พลิกโฉมสู่ โรงงานอัจฉริยะ เพื่อเสริมศักยภาพในการผลิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี

นายหลิง จื้อ รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ZTE ในฐานะของผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยี โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นองค์กรภาคอุตสาหกรรม และได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับชั้นนำ พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี 5G มาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมอุตสากรรมหลักมากกว่า 15 อุตสาหกรรม ในการจับมือกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อพัฒนาโซลูชั่น 5G end-to-end สำหรับอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศไทย ช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิต และยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิต ก้าวไปสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี 5G ๆ

ในความร่วมมือระหว่าง ZTE กับ AIS และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มุ่งนำเสนอนวัตกรรมที่จะพลิกโฉมโรงงานธรรมดาให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ ด้วยนวัตกรรมใหม่ อาทิ 5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ, Inspection หุ่นยนต์ลาดตระเวน, 5G AR Remote Guidance ควบคุมการทำงานจากระยะไกล, VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์ และ Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ โดยการเริ่มต้นที่ จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ยังมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับขอบเขตของเทคโนโลยี 5G ให้กับธุรกิจต่าง ๆ โดยความร่วมมือระหว่าง ZTE และ AISเชื่อว่าจะสนับสนุนให้การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี 5G เพื่อเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำลังในการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

ด้านทิศทางแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยี 5G ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะมีส่วนช่วยเพิ่ม จีดีพี (GDP) โลก เติมโตประมาณ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอุปกรณ์ในประเทศจีน ที่เชื่อมต่อ 5G มากกว่า 200 ล้านเครื่อง และคาดว่าจะมีการเชื่อมต่อราวพันล้านครั้ง โดย ZTE จะผลิตอุปกรณ์ เพื่อให้บริการใช้ผ่านเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ กระบวนการผลิต ที่เชื่อมต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดสามารถนำมาวิเคราะห์การใช้งานได้อย่างละเอียด เมื่อพบว่าอุปกรณ์เกิดความผิดปกติ ก็จะสามารถซ่อมแซมอย่างอัตโนมัติในทันที ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประหยัดค่าใช้จ่าย

ความร่วมมือนี้ ZTE พันธมิตรทั้ง 3 รายได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชั่น เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานภาคอุตสาหกรรมได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือจะมุ่งเน้นไปที่การสร้าง สมาร์ท แฟคตอรี่ (Smart Factory) หรือ โรงงานอัจฉริยะ ให้มีความสามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้ด้วย 5G Total Solutions for Industrial ที่ได้นำเอาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล AIS 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 2600 GHz แบบ SA (Standalone) ในการทำ Use Case ซึ่งจะช่วยลดความหน่วง (Latency)  และรองรับ IoT เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างเป็นต้นแบบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการยกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการ พร้อมทรานส์ฟอร์มกระบวนการขั้นตอนการผลิต

สำหรับ โซลูชันที่เสนอให้กับโรงงาน มุ่งเน้นการตอบสนองการทำงานของแต่ละส่วนในสายการผลิต ผ่านเทคโนโลยี 5G อย่างเช่น รถนำทางอัตโนมัติ ‘5G Cloud AGV’ สามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่ในการเดินทาง และเคลื่อนที่อัตโนมัติ ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เป็นเพิ่มประสิทธิภาพภายในโรงงานคลังสินค้า ในส่วนของ ‘หุ่นยนต์ลาดตระเวนตรวจสอบ 5G’ สามารถจดจำใบหน้า ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย สามารถลาดตระเวนพื้นที่ตามจุดต่าง ๆ พร้อมรายงานทันที เมื่อพบความผิดปกติหรือสิ่งต้องสงสัย และ ‘แขนหุ่นยนต์ 5G’ มีศักยภาพในการบริหารจัดการ ตรวจสอบ และ เลือกอุปกรณ์ หยิบจับผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายขนาด ในขณะเดียวกัน “5G AR Remote Guidance” มีฟังก์ชั่นควบคุมการใช้งานและซ่อมแซมได้จากระยะไกล  สำหรับ ‘5G VR Monitoring’ เป็นเครื่องมือตรวจสอบการประกันคุณภาพแบบเรียลไทม์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานสม่ำเสมอตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูป ทั้งหมดนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งเสริมศักยภาพภาพให้กับผู้ประกอบการโรงงานของไทย ได้นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และยกระดับสู่ “โรงงานอัจฉริยะ” นายหลิงจื้อ กล่าว

# ZTE #AIS #มทส #5G #อุตสาหกรรมไทย #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี #โรงงานอัจฉริยะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share