กองบรรณาธิการ
อีอีซี ลงนาม หัวเว่ย ตั้ง Huawei ASEAN Academy ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา รองรับการผลิตบุคลลากรด้านไอที รองรับความต้องการยุคดิจิทัล
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การรลงนาม MoU ร่วมกับหัวเว่ย และการตั้ง Huawei ASEAN Academy ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา ในพื้นที่อีอีซี เป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยและถือเป็นหนึ่งในต้นแบบสำคัญ สร้างความร่วมมือ 3 แกนหลัก ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน ลาะสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคคลากรรองรับเทคโนโลยี 5G ยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลของไทย โดยมีกรอบความร่วมมือที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
1.สร้างฐานความรู้ ผู้เชี่ยวชสญ และแพลตฟอร์ม สำหนัลการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี หรือ ไอซีที จากการตั้ง Huawei ASEAN Academy เพื่อเป็นสถาบันฝึกอบรมหลักเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลของไทย
2.สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาไอซีที นำองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้ให้บริการไปยังภาคอุตาหกรรมเพื่อใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.การฝึกอบรวมเสริมศักยภาพด้านอซีทีและ 5G ตามหลักการพัฒนาบุคลากรตรงความต้องการ (Demand Driven) สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เข้าสู่การปฎิบัติสร้างงาน รายได้ดี และ
4.สร้างการรับรองมาตรฐาน (Certification) อำนวยความสะดวกแก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายหยาง ซิน อุปฑูต รักษาราชการแทนเอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง ไทย-จีน และการเปิดตัว Huawei ASEAN Academy ช่วยให้ประเทศไทย เป็นศูนย์รวมข้อมูลของเอชียตะวันออกเฉียงใต้
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กล่าวว่า ในปีนี้หัวเว่ยจะช่วยในการพัฒนาทักษะบุคคลากร ดิจิทัลจำนวน 6,000 คน และภายในระยะเวลา 3 ปีของความร่วมมือในการลงนาม หัวเว่ยจะผลิตบุคลากรเพิ่มอีกปีละ 10,000 คนหรือผลิตบุคลากรเพิ่มอีก 30,000 คน เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมชั้นสูง และการเป็น Digital ASEAN Hub หรือศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน ซึ่งเป็นการสร้างศักยาพการแข่งขันของประเทศไทย ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การเกิดโควิด-19 ทำให้เปิดผลกระทบทางเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นการเกิดโควิด-19 เชื่อว่าทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส
การพัฒนาบุคคลากรทางด้านดิจิทัลของไทย เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งของประเทศไทย เป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืนและรองรับ Digital ASEAN Hub
จากข้อมูลวิจัยของ Oxford Economics รายงานว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกเติบโตมากขึ้นราว 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 การผสมผสานเทคโนโลยี 5G, Internet of thing หรือ IoT และคลาวด์เข้าด้วยกันจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันแข็งแกร่งเพื่อการเติบโตด้านดิจิทัลของไทย ซึ่งคาดว่า จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของ GDP ของประเทศในปี 2030
หัวเว่ยได้ส่งเสริมให้เกิดการงาน 5G เพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลให้กับโรงงาน 1,000 แห่ง และโรงแรม 300 แห่ง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านดิจิทัล และความร่วมมือกับหัวเว่ยในการพัฒนาบุคคลากร 30,000 คนในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีส่วนให้ประเทศไทยขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กร
#EEC #อีอีซี #Huawei #หัวเว่ย