กองบรรณาธิการ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ร่วมมือกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ในการพัฒนามาตรฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย บนเทคโนโลยีบล็อกเชน คาดเริ่มทดลองใช้เดือนเมษายน และสามารถใช้อย่างเป็นทางการเดือนกันยายนนี้
นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ETDA ร่วมกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ในการพัฒนามาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้สำหรับการ
ยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identification หรือ Digital ID) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital signature)
โดยการพัฒนามาตรฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน จะพัฒนาบนพื้นฐานระบบเปิดที่ทำให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ต่างๆที่เกี่ยวข้องสามารถใช้มาตรฐานกลางนี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้บนแพลตฟอร์มเดียวกันระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ต่างกัน
“เดิมการเซ็นเอกสารในรูปแบบเดิมจะใช้เวลานานในการเซ็นเอกสาร เมื่อมีการนำลายมือดิจิทัลมาใช้ จะช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานมากขึ้นด้วย” นายชัยชนะ กล่าว และว่า ภายใต้ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน จะมีการพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการกุญแจเข้ารหัสลับแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Key Management System หรือ DKMS) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาสนับสนุนระบบนิเวช หรือ ecosystem ของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID)ลายมือดิจิทัล (Digital signature) เพื่อส่งเสริมสนับสนุน แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้บล็อกเชน
ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่าง ETDA และ ไอบีเอ็มจะเริ่มทดสอบการใช้ลายมืออิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือดิจิทัล และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับการออกใบทรานสควิป และใบรับรองแพทย์ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ETDA ได้จัดทำโครงการนำร่องร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราชในการให้ใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 2 ล้านใบ และคาดว่าจะเริ่มใช้งานของบล็อกเชนอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน และภายในสิ้นปีนี้จะมีหน่วยงานภาครัฐประมาณ 31 หน่วยงานที่ร่วมใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับลายมือดิจิทัล และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
ทั้งนี้ จะมีหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด 62 หน่วยงานที่จะใช้บล็อกเชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และการพิสูจน์ยืนยันตัวตนทางดิจิทัลครบทุกหน่วยงานในปี 2565
“บล็อกเชนเป็นเรื่องใหม่มาก มีความจำเป็นที่ต้องทำมาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้มาตรฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชนจะเป็นตัวกลางให้หน่วยงายทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องและมีการเชื่อมโยงกันอย่างมั่นคงปลอดภัย และน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันไอบีเอ็มจะนำเทคโนโลยี มาตรฐานและประสบการณ์จากการให้บริการบล็อกเชนจากในและต่างประเทศมาช่วยต่อยอดการให้บริการบล็อกเชนของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ภาครัฐและเอกชนที่ใช้มาตรฐานบริการดิจิทัลที่เชื่อถือได้ ทำให้การงานแพร่หลายมากขึ้น เช่น การใช้บริการ Digital ID ยังจำกัดอยู่แค่เฉพาะบริการภาคการเงิน ธนาคาร และบางอุตสาหกรรม หรือข้อจำกัดในการใช้ Digital ID กับนิติบุคคล หรือหน่วยงานภาครัฐ มีการใช้บริการที่น่าเชื่อถือเพียงบางส่วนหรือบางบริการเท่านั้น” นายชัยชนะ กล่าว
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ และมีอีโคซิสเต็มทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมเดินหน้าขับเคลื่อน ไอบีเอ็มมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสนำความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มระดับโลกบนเทคโนโลยีบล็อกเชน มาสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานและกลไกด้าน Digital ID และ Digital signature ซึ่งถือเป็นก้าวย่างสำคัญของไทยในการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากบล็อกเชนทำให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบข้อมูลง่าย
“ในวันที่ธุรกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเมื่อมีกสรทำนิติกรรม และมีเอกสารที่จะต้องทำจำนวนมาก ที่ต้องการคอนเฟิร์มด้วยลายเซ็น ถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการเริ่มการทำงานใหม่และทำเอกสารใหม่ หากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทาง ETDA มีความติดที่จะทำให้เกิดมาตรฐานที่จะทำให้หลายองค์กรสามารถมาทำนิติกรรมเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญมากถ้าประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 การเอา Digital ID และ Digital Signature มาใช้เป็นเรื่องสำคัญมาก และความร่วมมือในครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่มีมาตรฐานสากล” นางสาวปฐมา กล่าวและว่า
การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้มีประโยชน์ที่สำคัญ 5 ประการประกอบด้วย
การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ความเร็วในการทำงานมีมากขึ้นและช่วยในการประหยัดเวลาด้วย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและความรวดเร็ว มีความปลอดภัยของข้อมูลมีการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย และช่วยลดกระบวนการความซ้ำซ้อนในการทำงานรวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันไอบีเอ็มมีความร่วมมือกับ 22 ธนาคาร 15 องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น มีการนำบล๊อกเชนมาช่วยในการทำ แบงค์การันตรี และ การแลกเปลี่ยนทางการเงิน และหนังสือค้ำประกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่มีการทำธุรกรรมเฉลี่ยสูงถึง 61.3 พันล้านรายการต่อวัน สูงขึ้นถึง 53 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2529 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับธุรกรรมการชำระเงินผ่านโมบายล์แบงก์กิง ที่มีปริมาณกว่า 4,925 ล้านรายการ และอินเตอร์เน็ตแบงก์กิง ที่มีปริมาณกว่า 569 ล้านรายการในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (ปี 2561) คิดเป็น 173.46 เปอร์เซ็นต์และ 199.93 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ความร่วมมือกับ ETDA ในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไอบีเอ็ม จะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับ Decentralized Key Management System ของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล นับเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้บริโภค โดยสำหรับผู้บริโภคแล้ว ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่นำสู่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้ระบบที่มั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายและแนวปฏิบัติในระดับสากล
“ความร่วมมือมีความสำคัญมากๆ ในส่วนไอบีเอ็มเอง ได้นำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาขับเคลื่อนนโยบายของชาติ ทำให้เกิดนิติกรรมในประเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า รวมถึงเป็นการยกระดับในการทำธุรกิจของประเทศไทย” ปฐมา กล่าว
#ETDA #IBM #ไอบีเอ็ม #DigitalID #Digitalsignature #ThaiSMEs