ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ ฟิวชั่น โซลูชั่น พร้อมกระตุ้นเอสเอ็มอีก้าวสู่ ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น

กองบรรณาธิการ



บรรยายภาพ: ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ (ซ้ายสุด), นางสาวชนิกานต์ โปรณานันท์ (ที่ 2 จากซ้าย),
นายเสกสรร ดุษฎีวิโจน์ (ขวาสุด) และ นางสาวจิรพรรณ บุญหนุน (ที่ 2 จากขวา) 

ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ บริษัทฟิวชั่น โซลูชั่น และเว็บไซต์ Thai-SMEs.com จัดสัมมนาในเรื่อง เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มจัดสร้างระบบ โดยเป็นการให้ความรู้ในการสร้างแอพพลิเค

ชั่นง่ายในวันเดียว ปฎิวัติ กระบวนการลดต้นทุนแบบดิจิทัล และในงานสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร. ธนชาติ นุ่นนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC มาร่วมถ่ายทอดความรู้ให้กับเอสเอ็มอี ภายใต้หัวข้อเรื่อง Digital Solution for SMEs Business

นางสาวชนิกานต์ โปรณานันท์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการตลาดและปฎิบัติการ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์มีความยินดีอย่างยิ่งในการส่งเสริมเอสเอ็มอี ให้สามารถก้าวข้ามการทำธุรกิจในรูปแบบเดิมสู่การทำธุรกิจผ่านออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ส ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำตลาดของเอสเอ็มอีให้สามารถขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยยกระดับเอสเอ็มอีได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไมโครซอฟท์ จึงร่วมกับพันธมิตรจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มอาวุธทางการแข่งขันในโลกดิจิทัลให้กับเอสเอ็มอี การจัดสัมมนาในครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากกับเอสเอ็มอี เพื่อให้เอสเอ็มอี สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึงมีการเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เอสเอ็มอีมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC กล่าวว่า วันนี้รูปแบบของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแล้ว เนื่องจากเทคโนโลยีสามารถเชื่อมต่อได้ทุกดีไวท์ นอกจากนี้ 5G และโควิดยังเป็นตัวกระตุ้นให้เทคโนโลยีมาเร็วมากขึ้น

“โควิดมายิ่งทำให้มันเป็นการกระตุ้น เทคโนโลยีมาถึงเราเร็วขึ้น เช่น การใช้ จ่ายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Payment  สิ่งที่ผมเห็นตอนนี้ ทุกอย่างสมาร์ทหมดเลย และทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมด ตอนนี้ส่งที่เราต้องทำให้ได้ในเชิงธุรกิจ ทำอย่างไรถึงจะเข้าใจลูกค้าได้ดี ทำไงเราถึงจะ customized ให้ลูกค้าเข้าใจว่า คือ เค้าต้องการอะไร เมื่อก่อนไม่ต้องทำ และในวันนี้จะต้องทำ personalization ให้ได้ การนำเสนอเปลี่ยนไปเยอะมากออโตเมชั่นมา ธุรกิจถ้าไม่ทำออโตเมท บางเรื่องผมว่าเหนื่อย เพราะฉะนั้เอไอตามมา ทุกคนแข่งกันทำเอไอ ต้องวิเคราะห์ดาต้าต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ผมว่าเอไอมันมาแรงมาก แรงกว่าที่คิด” ดร. ธนชาติ กล่าวและว่า

ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ธุรกิจจะต้องนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ข้อมูลหรือดาต้าให้ได้ เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้เกิดดิจิทัล ทรานฟอร์มเมชั่น (Digital transformation)เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการ ดิสรับชั่น (Disruption) และการทรานฟอร์เมชั่นจะมาช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบรวมถึงสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เราสามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด หรือเป็นการเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น (Customer understanding) และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (Customer experience)

นอกจากนี้ การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยทางด้านไอที กล่าวว่า ธุรกิจจะต้องรู้หมดว่าลูกค้าอยากได้อะไรและต้องสร้างประสบการณ์ที่รองรับความต้องการของลูกค้าให้ครบทุกด้าน (Total experience) เพื่อรองรับเทรนด์ของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น หรือเรียกว่า Internet of behavior คือต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าทั้งหมด ธุรกิจถึงจะแข่งขันได้ หากขาดตรงนี้ ไม่เข้าใจลูกค้า มันเป็นสัญญาณที่ว่าธุรกิจอาจจะโดน disruption เพราะธุรกิจจะไม่รู้ว่าลูกค้ามาซื้อสินค้าเพราะอะไร มาหาเราเพราะอะไร

ดังนั้นการทรานฟอร์ม (Transform) คือกลยุทธ์ที่จะต้องไป มันเป็นกลยุทธ์ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่คือการเปลี่ยนแปลง ต้องมาปรับกระบวนการทำงาน ปรับตรงแกนกลางของธุรกิจโดยเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริม สำหรับธุรกิจที่จะทรานฟอร์ม จะต้องคำนึงถึง  3 ด้าน คือ ระบบหลังบ้านหรือเรื่อง cooperation  แล้วเอาดิจิทัล เข้ามาช่วย  อันที่สอง คือ ต้องเข้าใจลูกค้า เพื่อรองรับ Customer experience เนื่องจากลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิมเยอะมากและสุดท้ายคือ เรื่อง Transformation เป็นเรื่องสำคัญมากที่ธุรกิจต้องปรับตัว รวมถึงธุรกิจต้องมองว่าลูกค้าต้องการอะไร และทำอะไรให้ไวเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

นายเสกสรร ดุษฎีวิโจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ฟิวชั่น โซลูชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ในการสัมมนาครั้งนี้สิ่งที่บริษัทมานำเสนอคือเครื่องมือ ของไมโครซอฟท์ ซึ่งมาช่วยธุรกิจของลูกค้าสามารถที่จะทรานฟอร์มจากงานที่เป็นเอกสาร (Paper) และกระบวนการ (Process) ทำงานต่างๆ ในรูปแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล เมื่อย้อนหลังไป 5 ปีที่ผ่านมาก่อนที่ไมโครซอฟท์จะออกเทคโนโลยีนี้ออกมา การแปลเอกสาร 1 ชุด ให้กลายเป็นดิจิทัล ธุรกิจจะต้องใช้งบประมาณ 400,000-500,000 บาทต่อ 1 ชุดเอกสาร เช่น ใบเบิกเงิน ใบลา สำหรับองค์กรใน 1 ใบ เพราะฉะนั้นองค์กรไม่สามารถเปลี่ยนปรับตนเองเข้าสู่ดิจิทัลได้เลย เพราะว่าจะต้องใช้งบประมาณมหาศาล เมื่อไมโครซอฟท์ มีเครื่องมือ (Tools) ที่ชื่อว่า Power App ขึ้นมา หรือเรียกว่า Office 365 ไมโครซอฟท์ให้เครื่องมือมาแล้วทำให้สามารถลดต้นทุนได้ จากงบประมาณ 400,000-500,000 บาทกลายเป็นว่าอาจจะเป็นเรื่องฟรีเลยก็ได้ เนื่องจากเราสามารถเปลี่ยนกระบวนการทำงานของเราเป็นดิจิทัล โดยที่ไม่ต้องเสียเงินเลย เพราะอยู่ในชุดของไมโครซอฟท์ 365 อยู่แล้ว เราพูดเรื่องดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น เรารู้ว่ามันดีอย่างไร เรารู้ว่าจะไปอย่างไร และอย่างสุดท้ายที่ลูกค้าจะปรับตัวสู่ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น คือความรู้ที่จะนำไปใช้เท่านั้นเอง”

เมื่อลูกค้าปรับตัวเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการซื้อขายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ สั่งของผ่านออนไลน์ ลูกค้าสามารถรับรู้ได้ว่าสินค้าจะมาถึงปลายทางเมื่อไหร่เพราะมีการส่งข้อมูลให้สามารถติดตามได้

นายเสกสรร กล่าวว่า บริษัทฟิวชั่น โซลูชั่น ให้บริการที่ปรึกษาในด้านดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น ให้ช่วยให้องค์กรสามารถเปลี่ยนจากองค์กรปัจจุบันไปสู่องค์กรดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ และบริษัทรับพัฒนาโซลูชั่นและแอพพลิเคชั่น (Customization) สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

“เมื่อองค์กรเปลี่ยนเป็นดิจิทัล คุณจะเป็นองค์กรที่ให้บริการที่เร็ว สามารถขยายตลาดได้ง่าย ขยายบริการได้ง่ายมากๆ ทำให้กระบวนการที่เป็นรูปแบบเดิม ให้กลายเป็นกระบวนการดิจิทัล บริษัทให้บริการลูกค้าทั้งในไทยและประเทศพม่า มีพนักงงานประมาณ 160 คน ธุรกิจไอทีจะสดใสถ้าคุณทำให้ลูกค้ามองเห็นคุณ คุณต้องเด่นพอที่ลูกค้าจะเข้ามาหา ฉะนั้นธุรกิจจะต้องมีความชัดเจน” เสกสรร กล่าว

นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังประเทศเวียตนาม โดยนำซอฟต์แวร์แพคเกจสำเร็จรูปไปให้บริการลูกค้าโดยเป็นซอฟต์แวร์ประเภท ระบบบันทึกเวลาเข้า-ออกของพนักงาน (Time attendance)

“เรามองเห็นโอกาสนี้ เนื่องจากระบบเดิมมันไม่ตอบโจทย์การทำงานทุกวันนี้ของเราที่เป็นโมบายน์ พนักงานทั้งหมดของบริษัท เกินครึ่งเป็นพนักงานที่ไม่ได้อยู่ประจำที่ออฟฟิคระบบบันทึกเวลาเข้า-ออกสามารถตอบโจทย์ธุรกิจของบริษัทต่างๆได้ และบริษัทให้บริการฟรีสำหรับระบบบันทึกเวลาเข้า-ออกภายใต้ชื่อ Javiz สำหรับเอสเอ็มอีในประเทศไทยมียูสเซอร์ที่ใช้งานปัจจุบันประมาณ 5,000 คน” เสกสรร กล่าวและว่า

สำหรับธุรกิจที่ต้องการลงทุนซื้อระบบบันทึกเวลาเข้า-ออก และต้องการเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองบริษัทจำหน่ายระบบดังกล่าวในราคา 300,000 บาท ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่

สำหรับแผนงานในอนาคตของฟิวชั่น โซลูชั่น จะเติบโตในทิศทางเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีและขายซอฟต์แวร์ในรูปแบบไลเซ่นส์  รวมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์แพคเกจเพื่อรองรับธุรกิจและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ บริษัทมีการเติบโตประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากบริษัทเปลี่ยนจากไปหาลูกค้าเป็นการสร้างจุดเด่นของบริษัทให้ลูกค้าเข้ามาหาเองผ่านช่องทางต่างๆ เป็นต้น

“งานสัมมนาในครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือของหลายฝ่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจอย่างก้าวกระโดดให้เอสเอ็มอี พร้อมต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ง่ายขึ้นในยุคที่ต้องปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ต้องขอขอบคุณไมโครซอฟท์ในความร่วมมือในครั้งนี้ เพราะเราเชื่อมั่นว่าด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันของไมโครซอฟท์ จะช่วยสร้างความเติบโตให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้อย่างโดดเด่นไม่เหมือนใคร” นางสาวจิรพรรณ บุญหนุน ผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Thai-SMEs กล่าวเสริม

# ไมโครซอฟท์ #ฟิวชั่นโซลูชั่น #ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น #DigitalSolutionforSMEsBusiness

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share