ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้นโยบายทรัมป์ 2.0 ต้องการดึงสินค้าเพื่อความมั่นคง – ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ กลับไปผลิตในสหรัฐ หนุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น

Executive talk

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด 

หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ความชัดเจนต่อนโยบายการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็เริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย America First ที่สหรัฐฯ จะนำผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง

นโยบายทรัมป์ 2.0 จะยังคงใช้ภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสหรัฐฯ ซึ่งเราได้เห็นนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐฯ มีการใช้ภาษีนำเข้า เป็น เครื่องมือในการเจรจา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการเมืองและความมั่นคง ในประเด็นเรื่องคนลักลอบเข้าเมืองและปัญหายาเสพติด  รวมถึงความต้องการขยายดินแดนและอิทธิพลไปนอกสหรัฐฯ อาทิ คลองปานามา กรีนแลนด์ และแคนาดาในแนวคิดของรัฐบาล ทรัมป์ วาระแรก ได้มีการขึ้นภาษีนำเข้า โดยเฉพาะจากจีน และมีการเปลี่ยนสนธิสัญญา ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA(North American Free Trade Agreement) มาเป็น ข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา หรือ USMCA (United States-Mexico-Canada Agreement) โดยสงครามการค้า มีผลลบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยกว่าประเทศอื่นที่ค้าขายกับสหรัฐฯ

สะท้อนจากแนวคิด ที่นาย Robert Lightizer ซึ่งเป็นมันสมองของการวางกลยุทธ์สงครามการค้ารอบแรก ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ ควรจะมองจีนเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ทั้งด้านการทหาร เศรษฐกิจ และความมั่นคง เนื่องจากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากๆ ไม่เป็นผลดีกับสหรัฐฯ ในระยะยาว เพราะฉะนั้นนโยบายต่างๆ จึงต้องการบรรลุเป้าการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน และลดการขาดดุลการค้า

นอกจากนั้น สหรัฐฯ ยังต้องการให้มีการสร้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์  และยังมีแนวคิดที่ว่า แม้แต่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ก็ได้มีการเอาเปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ มาโดยตลอด   ไม่ว่าจะเป็นเม็กซิโก แคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเทศไทย น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการที่ประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 10 ของโลก ดังนั้น กลยุทธ์ของไทยในการรับมือคงต้องเปิดตลาดให้กับธุรกิจสหรัฐฯ มากขึ้น หรือเพิ่มการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ เพื่อลดการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ  นอกจากนี้ หากผลกระทบจากสงครามการค้าขยายวงกว้าง  เฟดอาจจะไม่สามารถลดดอกเบี้ยเพิ่ม จากที่คาดว่าจะลดลง 2 ครั้งในปีนี้

นโยบายทรัมป์ 2.0 จะเน้น การสร้างความมั่นคง ทางด้านเศรษฐกิจ และการทหาร ให้กับสหรัฐฯ เป็นหลัก เราจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่สหรัฐฯ จะใช้ความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของตนเองเป็นเครื่องมือต่อรอง ให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อย่างมากที่สุด 

ดังนั้นแนวทางนโยบายการค้าโลก ต่อไปนี้จะมีความไม่แน่นอน มีความผันผวนทางด้านนโยบาย แนวทางทรัมป์ 2.0 เมื่อเทียบกับ ทรัมป์ 1.0 ขะเห็นว่านโยบายต่างๆเพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐและพยายามนำงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตกลับไปที่สหรัฐ สงครามทางการค้าจะเริ่มขยายวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรหรือศัตรูสหรัฐ ใครที่สหรัฐมองว่าได้ดุลการค้านานๆ หรือการค้าแบบเสรี (Free trade)  สหรัฐมองว่าไม่ยุติธรรม บางสินค้าที่สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าถูกกว่าภาษีที่สหรัฐโดนกีดกันทางภาษีกับประเทศอื่น ตรงนี้ต้องระวังว่า เวลาส่งของเจ้าสหรัฐ เรามีมาตการที้กีดกั้นสินค้าสหรัฐหรือเปล่า ฉนั้นต่อไปเราจะเห็นอะไรที่เท่าเทียมกันมากขึ้น มีความยุติธรรมในมุมมองของสหรัฐ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมที่ทรัมป์พูดถึงเสมอ คืออุตสาหกรรมยานยนต์ ที่บอกว่าบางทีไม่ยุติธรรมที่งานของคนสหรัฐย้ายไปอยู่แคนาดา ย้ายไปอยู่แม็กซิโก และผลิตของเพื่อมาขายคนสหรัฐ คนที่เสียเปรียบคือคนสหรัฐที่ตกงาน ดังนั้นจะเริ่มเห็นจึดมุ่งหมายของนโยบายสหรัฐว่า ต้องการมห้เกิดการจ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาดี และจ้องการให้สหรัฐอเมริกาไม่ขาดดุลการค้า และอะไรที่เป็นสินค้าเพิ่มความมั่นคงให้กับสหรัฐ เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ เหล็ก อะลูมิเนียม หนือสินค้าที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต้องอยู่ในสหรัฐ สินค้าที่สำคัญอย่างเซมิคอนดักเตอร์ แผงโซลาร์เซลล์สหรัฐก็อยากให้กลับไปผลิตที่ประเทศของตน ฉนั้นจะเห็นนโยบายต่างๆเป็นการเสริมความมั่นคง หรือ การพูดถึงคลองปานามา หรือกรีนแลนด์ เป็นการเปิดช่องทางการค้าให้สหรัฐสามารถเดินทางได้สะดวก สินค้าสหรัฐสามารถส่งไปได้ทั่วโลก 

นี่เป็นอันนึงที่มองว่า นโยบายล้อไปด้วยกัน

ตามที่สหรัฐมอง ถ้าสหรัฐมองว่าจีน เป็นคู่แข่งทางด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) สหรัฐก็อาจจะดำเนินนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจของจีนไม่สามารถขยายตัวได้ เพราะถือว่า หากขยายตัวได้ดี ก็อาจจะมาสร้างกำลังทางด้านการทหารหรือด้านเทคโนโลยีมาแข่งกับตัวเอง สหรัฐอาจะจะมองว่า ถ้าไทยกลายเป็นฐานการผลิตให้จีน สหรัฐอาจจะมองว่าไม่ใช่ผลิต made in ประเทศอะไร แต่เป็น made by ใคร เพราะฉะนั้นอาจจะมีความเสี่ยงว่า ธุรกิจที่เรารับจ้างการผลิตให้จีนถ้าสหรัฐมาดูว่าคุณไม่ใช่คนไทย แต่คุณเป็นคนจีนมาแต่จ้างการผลิตก็อาจจะโดนผลกระทบได้ และเป็นสินค้าที่สหรัฐต้องการให้กลับเข้าไป เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สินค้าคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ สหรัฐอยากให้กลับไปเพื่อให้เกิดการจ้างงาน พวกนี้เป็นสินค้าที่มีคงามเสี่ยง สำหรับสินค้าที่ไม่โดนถึงแม้สหรัฐขึ้นภาษีไปก็อาจจะไม่เกิดการจ้างงาน เช่น ยางล้อ ผลิตในไทยและสหรัฐไม่ได้ผลิตแข่ง การจ้างงานอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในอเมริกา หรือสินค้าที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มมากนัก อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตมากนัก เป็นสินค้าที่ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นสินค้าที่มีมูลค่า เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ 

สมาร์ทโฟน อาจจะได้รับผลกระทบได้

#ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #ThaiSMEs #ทรัมป์2.0

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share