ปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เราผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และเมื่อเราพยายามหาแนวทางเพื่อทำงานให้ได้ภายใต้สถานการณ์นี้ รวมถึงกำหนดรูปแบบการทำงานภายใต้ความปกติแบบใหม่ หรือ new normal ผมรู้สึกทึ่งกับผลลัพธ์บางอย่างที่ได้มาโดยไม่ได้ตั้งใจจากการระบาดในครั้งนี้ อย่างแรกคือ สภาพแวดล้อมใหม่ที่ทำทุกอย่างได้จากที่บ้าน หรือ “everything-from-home” ที่ช่วยสนับสนุนความจำเป็น และในหลายๆ กรณีเป็นการช่วยเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่เราพูดกันที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาเป็นเวลา 2-3 ปีมาแล้ว อย่างที่สองก็คือ ในหลายประเทศที่อยู่ในช่วงล็อกดาวน์ในระดับที่แตกต่างกันไป เราได้เห็นถึงการลดลงของมลพิษทั่วโลก ทั้งนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามลพิษที่น้อยลงนั้นจะเป็นแค่ระยะสั้น เรายังไม่พบทางแก้ไขที่ตอบโจทย์ด้านวิกฤติพลังงาน เหมือนกับที่เราเห็นว่าทุกภาคส่วนกำลังผนึกกำลังเพื่อก้าวข้ามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในลักษณะเดียวกัน เพื่อแก้วิกฤติด้านพลังงาน ซึ่งผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์สามารถเป็นผู้นำในเรื่องนี้โดยการปฏิบัติเป็นตัวอย่างได้
อุตสาหกรรมต้องมีความรู้อย่างลึกซื้งในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืน
อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ดูเหมือนจะมีความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนกลางและในภูมิภาค ในเวลาเพียง 10-15 ปีที่ผ่านมา ดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานมีค่า PUE ที่ขาดประสิทธิภาพอย่างยิ่ง อยู่ที่ประมาณ 1.8 ทั้งนี้นวัตกรรมอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งอย่างการปรับปรุงเรื่องการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบทำความเย็น การบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบจ่ายไฟสำรอง นำไปสู่การลดพลังงานที่สูญหายได้ถึง 80% ส่งผลให้ดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันสามารถบรรลุอัตราค่า PUE อยู่ที่ 1.17 ได้
ในความเป็นอุตสาหกรรม เราสร้างนวัตกรรมที่มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน เพื่อเสนอให้กับห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์ เราเห็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้าสู่ตลาดในวันนี้ เช่น สวิตช์เกียร์แรงสูง (SF6-free switch gear) และเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบล้ำหน้า ซึ่งโอกาสด้านนวัตกรรมยังมีให้เห็นที่ปลายขอบฟ้าเช่นกัน ให้คิดถึงระบบความร้อนแบบ liquid cooling และ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่เป็นระบบ grid interaction ซึ่งเมื่อความล้ำหน้าที่น่าตื่นเต้นล้ำหน้าเราไป สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่มองข้ามความท้าทายที่มีมากขึ้น นั่นก็คือการสร้างความยั่งยืนให้กับเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์
การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT พร้อมกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเศรษฐกิจระดับโลก กำลังก่อให้เกิดข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งจำเป็นต้องมีการประมวลผลที่เร็วขึ้น และใกล้กับจุดที่สร้างข้อมูล หรือมีการใช้งานข้อมูลมากขึ้น ทำให้เกิดการประมวลผลที่ปลายทางของเครือข่ายหรือเอดจ์มากขึ้นด้วย จึงต้องอาศัยการใช้เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ หรือ local edge data centers ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้กำหนดนิยามว่าเป็น ระบบโครงสร้างไอทีในส่วนของ enclosures/ spaces/ facilities ที่ทำงานกระจายศูนย์อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้กับเอ็นด์พอยต์ของเครือข่าย เราเห็นว่ากำลังมีการปรับใช้ local edge data centers ครอบคลุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของ 3 ภาคธุรกิจหลักได้แก่
คอมเมอร์เชียล ได้แก่ ค้าปลีก เฮลธ์แคร์ ไฟแนนซ์ และการศึกษา
อุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำมันและก๊าซ เหมือง ยานยนต์ และโรงงานผลิต
โทรคมนาคม ได้แก่ สำนักงานส่วนกลาง เสารับสัญญาณ สถานีฐาน ชั้นบนสุดของอาคาร
ดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ประสิทธิภาพทัดเทียมกัน…แต่ก็สามารถไปถึงจุดนั้นได้
ง่ายมากถ้าเราจะมองข้ามความท้าทายด้านพลังงานของเอดจ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า หากเรามองผ่านมุมมองด้านการติดตั้งเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่กันอย่างล้นหลามเพียงมุมเดียว หรือหากเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่บริหารจากส่วนกลางหรือในภูมิภาค นั่นคือการออกแบบและสร้างเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงสุด ลองจินตนาการถึงผลกระทบในกรณีการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ ถูกมองในภาพการทำงานที่ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพความจำเป็นเร่งด่วนที่มีมากขึ้น ตามที่ได้คาดการณ์กันภายในองค์กร โดยคาดกันว่าเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ จะใช้พลังงานเกิน 3,000 เทราวัตต์ชั่วโมง ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า นั่นคือการใช้พลังงานเทียบเท่าการใช้ถึง 275 ล้านครัวเรือน
คาดว่าการใช้พลังงานของเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของนวัตกรรม (IoT บิ๊กดาต้า และ AI) ซึ่งต้องพึ่งพาการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์อย่างหนักในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลในปริมาณมหาศาล การลดความท้าทายด้านพลังงานของเอดจ์นั้น อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ต้องมุ่งเน้นที่การทำให้มั่นใจได้ว่าเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์นั้นสร้างมาเพื่อให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานในวงกว้าง ทั้งในมุมของการใช้ทรัพยากรและในเรื่องค่าใช้จ่าย จากการคาดการณ์ที่ว่าจะมีการวางระบบไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่นับ 7.5 ล้านแห่งภายในปี 2025 จะทำให้คาร์บอนฟุตพรินท์ทั่วโลกในช่วงที่มีการใช้พลังงานสูงสุด คาดว่าจะสูงถึง 120 กิกะวัตต์ หากเราลองมองเรื่องนี้ให้ไกลออกไปอีกนิด ในประเด็นของ ประสิทธิภาพสูงสุด เทียบกับ ประสิทธิภาพกลางๆ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานประจำปี จะเทียบเท่า 82 พันล้านยูโร/ 92 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นปริมาณคาร์บอน 450,000 ตันต่อปี เทียบกับ 97 พันล้านยูโร/ 109 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นปริมาณคาร์บอน 600,000 ตันต่อปี ตามลำดับ นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนของกรณีธุรกิจที่สอดคล้องกับกรณีของความเป็นกรีน
มั่นใจว่าชีวิตจะดำเนินต่อไปในโลกที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัลและไปไกลเกินกว่านั้น
ในฝ่าย Secure Power ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราผลักดันจุดมุ่งหมายที่จะสร้างศักยภาพในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้าของเราด้วยการสร้างความมั่นใจในเครือข่ายสำคัญของธุรกิจ ระบบงาน และกระบวนการที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมใช้งานตลอดเวลา ความยืดหยุ่นดังกล่าวต้องสร้างศักยภาพให้กับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล และในความเป็นจริงก็คือ การขับเคลื่อนขุมพลังงานของโลกดิจิทัลทั้งหมดจะต้องดำเนินการได้สำเร็จอย่างยั่งยืน การจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ผมเชื่อว่าการจะนำเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์มาใช้ได้ครอบคลุมต้องอาศัยประเด็นต่อไปนี้
• เพิ่มความเป็นมาตรฐานและบูรณาการ หลายๆ สภาพแวดล้อมด้านเอดจ์ มีพนักงานไอทีอยู่อย่างจำกัดหรืออาจจะไม่มีเลย นี่คือเสียงสะท้อนถึงปัญหาจากผู้ใช้ปลายทางเป็นเสียงเดียวกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือในการออกแบบระบบดิจิทัลและการออกแบบจะต้องช่วยในเรื่องการติดตั้งให้ได้อย่างเรียบง่าย ความเป็นมาตรฐานจะช่วยให้การนำมาใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่าย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับทุกคน รวมถึงคู่ค้า
• เพิ่มประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ถ้าหากเรากำลังเห็นความต้องการเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และมีการคาดการณ์ถึงการเติบโตในการติดตั้งระบบของเรา (7.5 ล้าน ภายในปี 2025) ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานไอทีที่จะบริหารจัดการในการปรับใช้เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยปริมาณมากมายขนาดนี้ เหตุผลที่ชัดเจนในการที่ต้องอาศัยประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น ความสามารถด้านใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง มุมมองเชิงลึกด้านข้อมูล การทำ benchmarking และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างซึ่งถ้ามีการนำมาใช้ก็จะช่วยในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
• ให้ความสามารถด้านการบริการด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ก็เป็นเรื่องที่แทบจะจินตนาการไม่ออก เพราะมีเอดจ์มากมายหลายไซต์ที่มีพนักงานไอทีอยู่จำกัดหรือไม่มีเลย แนวทางการให้บริการเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์จึงจำเป็นจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล เมื่อมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น และช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการไซต์งานเอดจ์หลายไซต์ได้
ผมเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน หากเรายังคงพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ พร้อมกับให้ความสำคัญกับความจำเป็นเร่งด่วน ผมเชื่อว่าเราจะพูดเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพสูงของดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริหารจากศูนย์กลางและจากภูมิภาคได้ในอีกไม่ช้า รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ที่เอดจ์ของเครือข่ายของเรา