เอปสัน เผยผลสำรวจ สำนักงานทั่วอาเซียน มากกว่าครึ่ง หนุนใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท เพื่อผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ

กองบรรณาธิการ

เอปสัน เผยผลสำรวจล่าสุด จากรายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia พบว่าความยั่งยืนถูกยกระดับความสำคัญขึ้น และมีผลต่อพฤติกรรมการพิมพ์ในสำนักงานอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามยังมีธุรกิจและบุคคลจำนวนมากที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรธุรกิจจำนวน 1,500 คน ในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมต่อการพิมพ์เพื่อความยั่งยืน ซึ่งเอปสันได้จัดทำขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจในปีนี้ตอกย้ำว่า การพิมพ์ยังคงเป็นขั้นตอนการทำงานที่มีความจำเป็นสำหรับสำนักงานในภูมิภาคนี้ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานและผู้ใช้งานมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่ามีการใช้กระบวนการพิมพ์เป็นประจำทุกวัน อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบไฮบริดและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สำนักงานต่าง ๆ ต้องการความยืดหยุ่นในการพิมพ์งานเพิ่มมากขึ้น

ความสามารถทางดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์กรธุรกิจปัจจุบัน มากกว่าจะเป็นแค่ทางเลือกเหมือนในอดีต ซึ่งหลายองค์กรมองว่าการแชร์เอกสารดิจิทัลเป็นขั้นตอนแรกในการก้าวเข้าสู่กระบวนการดิจิทัล (Digitalization) โดยองค์กรในบางอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวช้ากว่า เช่น มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 40 เปอร์เซ็นต์ในธุรกิจการค้าปลีก ที่ยังคงใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยมากกว่า เช่น กลุ่มธุรกิจที่ปรึกษาและบริการวิชาชีพ และโฆษณาและการตลาด ที่มี 50 เปอร์เซ็นต์ และ 48 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรในธุรกิจนี้ที่ได้เริ่มเข้าสู่ Digitalization ขนาดของธุรกิจก็มีส่วนสำคัญ โดย 41 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และ 48 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจขนาดกลางที่มีขนาดไม่เกิน 500 คน ได้เปลี่ยนไปใช้เอกสารแบบดิจิทัล เมื่อเทียบกับ 45 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนพนักงานมาก ตั้งแต่ 501 คนขึ้นไป ทำให้มีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงภายในน้อยกว่า 

การสำรวจยังพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้การพิมพ์ในที่ทำงานมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 44 เปอร์เซ็นต์ ต้องการเห็นระบบการพิมพ์ดิจิทัลแบบบูรณาการที่ทันสมัย เช่น โซลูชันการพิมพ์ผ่านเครือข่ายคลาวด์ อีกทั้งราว 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังมองว่าความกะทัดรัดของเครื่องพิมพ์มีความจำเป็นต่อการพิมพ์งานในสำนักงาน ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของธุรกิจที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพและความทนทานในพื้นที่จำกัด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพิมพ์ ได้แก่ ความสะดวกสบาย (46 เปอร์เซ็นต์) ความคุ้มค่า (44 เปอร์เซ็นต์) และการตื่นตัวในเรื่องการพิมพ์อย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น (41 เปอร์เซ็นต์) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการหาสมดุลระหว่างการใช้งานได้จริง ความยั่งยืน และความคุ้มค่า ในกระบวนการพิมพ์ในสำนักงาน ทั้งยังต้องสนับสนุนพนักงานให้ก้าวทันตามแนวทางด้านความยั่งยืน

เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ตระหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงโซลูชันที่ยั่งยืน และพยายามมองหาทางเลือกด้านการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยกว่า 3 ใน 5 หรือ 66 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ระบุว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ 74 เปอร์เซ็นต์ของบุคคลและบริษัทมีความตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพิมพ์ในระดับ มาก หรือ ปานกลาง และ 63 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้ม หรือ มีแนวโน้มมาก ที่จะยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อโซลูชันการพิมพ์ที่ยั่งยืน

ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกำลังพิจารณาถึงทางเลือกที่มีอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น ในขณะที่ได้นำวิธีการพิมพ์ที่เน้นความยั่งยืนมาปฏิบัติ เช่น การพิมพ์สองหน้า (38 เปอร์เซ็นต์) และการเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลกระดาษ (34 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลสำรวจจะชี้ชัดว่าองค์กรต่าง ๆ จะตระหนักเพิ่มขึ้นและตั้งใจดีเกี่ยวกับการพิมพ์ที่ยั่งยืน แต่ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทางปฏิบัติจริงอยู่

เจสเตอร์ ครูซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอปสัน กล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้เห็นความสนใจต่อความยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กล่าวว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ แต่มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อมาตรการที่ยั่งยืน ทำให้เกิดช่องว่างใหญ่ในเรื่องการปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังสามารถเป็นสิ่งที่ดีต่อธุรกิจได้เช่นกัน ข่าวดีก็คือความต้องการเช่นนั้นมีอยู่จริง โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามพร้อมจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แทนที่เครื่องถ่ายเอกสารเลเซอร์อย่างแน่นอน หากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นทางเลือกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า

รายงานดังกล่าวพบอีกว่า ยังมีความเข้าใจผิดในหมู่องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ โดยหนึ่งในสาม (34 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ขณะที่มีเพียง 29 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า และอีก 29 เปอร์เซ็นต์ ไม่แน่ใจในเรื่องนี้

เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ยกเลิกการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ตั้งแต่สิ้นปี 2566 หลังจากการประกาศยุติการจำหน่ายและจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วโลก และจะมุ่งให้ความสำคัญกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเท่านั้น  เนื่องจากเทคโนโลยีเลเซอร์ต้องใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ ซึ่งทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

“ในสำนักงานปัจจุบัน มีเพียงเครื่องปรับอากาศและไฟส่องสว่างเท่านั้นที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าอุปกรณ์สำนักงาน ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องพิมพ์คิดเป็นสัดส่วนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานทั้งหมด การเปลี่ยนจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่มีเทคโนโลยี Heat-Free ของเอปสันจะสามารถลดการใช้พลังงานในการพิมพ์ได้มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์การใช้พลังงานที่น้อยลงนี้ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีก” เจสเตอร์ ครูซ กล่าว

“ผู้คนให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการลดการใช้พลังงาน แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือการแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้สามารถแปลงเป็นเม็ดเงินได้อย่างไร เอปสันเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมสามารถทำให้การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศเกิดเป็นความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจได้ อนาคตขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ยั่งยืน และมันดูจะมีแนวโน้มที่สดใส ด้วยปรัชญาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และแม่นยำ เอปสันจะยังคงผลักดันความยั่งยืนให้เป็นแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่สำคัญต่อไป”

#เอปสัน #ThaiSMEs #เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share