MFEC ผสานนวัตกรรม AI รุกตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ คาดฟันยอด 25% ตั้งเป้าปี 67 รายได้กลุ่มธุรกิจ 6,734 ลบ.

กองบรรณาธิการ

Screenshot

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด หรือ MFEC ผู้นำด้านไอทีครบวงจรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ผนึกกำลังพันธมิตรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกมากกว่า 20 ราย จัดงาน MFEC Cyber Sec Pro 2: The cybersecurity bridge between digital world and human ชี้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและระบบ Generative AI ควบคู่ไปกับการวางแผนกลยุทธ์ในการยกระดับแรงงานดิจิทัล (Digital workforce) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น โดยบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ในปี 2567 ภาพรวมกลุ่มธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 11.4 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมา หรือมีรายได้ 6,734 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มไซเบอร์ซิเคียวริตี้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ภาพรวมตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในประเทศไทยในปี 2567 กลับพุ่งทะยานเติบโต 1.4 หมื่นล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตทบต้นต่อปี (CAGR) 14.10 เปอร์เซ็นต์ มีปัจจัยมาจากอัตราภัยไซเบอร์และความท้าทายรูปแบบใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเสียหายรุนแรงขึ้นอย่างทวีคูณ ผนวกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคเศรษกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งผลักดันให้องค์กรจำต้องหาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ  และเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์การตอบโต้เชิงรุกในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างเทคโนโลยี AI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อัตราการเติบโตของตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตัวบ่งชี้ความท้าทายจากภัยไซเบอร์ที่หลายองค์กรต้องเผชิญ

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงสู่ เศรษฐกิจดิจิทัลผู้คนถูกรายล้อมด้วยสิ่งแวดล้อมดิจิทัล และมีความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างกันผ่านสื่อทางเทคโนโลยีมากขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบาย และช่วยลดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น แต่ท่ามกลางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ยังตามมาด้วยความท้าทายจากภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยจากข้อมูลการวิจัยของ Cybersecurity Ventures องค์กรชั้นนำด้านการวิจัยและเก็บรวบรวมสถิติด้านเศรษฐกิจและไซเบอร์ซีเคียวริตี้โลก คาดการณ์ว่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในปี 2567 และอาจสูงขึ้นถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 25682 ในขณะที่ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS เผยว่าการประเมินมูลค่าการลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของไทยจากปี 2565 คาดว่าจะเติบโตทบต้นต่อปี (CAGR) 13 เปอร์เซ็นต์ ไปอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 ทำให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของไทยเพิ่มขึ้นจาก   4.4 พันล้านบาทในปี 2565 พุ่งขึ้นเป็น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 12.3 เปอร์เซ็นต์ และธุรกิจให้บริการติดตั้งระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีอัตราการเติบโตที่โดดเด่น ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) ของรายได้อยู่ที่ปีละ 14.5 เปอร์เซ็นต์

นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปัจจุบันทิศทางแนวโน้มการลงทุนจะมาจาก Integration Solution ในลักษณะการเป็น Single Partner, Enterprise Agreement, และธุรกิจ Security Managed Services โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีความสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การหดตัวของการลงทุนในประเทศไทยทำให้ลูกค้าของ MFEC เองก็ต้องปรับตัวตาม แต่ธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของ MFEC ยังคงเติบโตได้ดี และเป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้ เราใช้กลยุทธ์ Tech with Propose สร้างความมั่นใจและรักษาฐานลูกค้า และนำ เทรนด์ AI มาต่อยอดเป็นบริการโซลูชันใหม่เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

Generative AI ดาบสองคมในการโจมตีและปกป้องในสงครามไซเบอร์

Generative AI เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและชาญฉลาด และมีบทบาทสำคัญในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพทั้งในด้านการโจมตีและการป้องกันภัยไซเบอร์ การเข้าใจบทบาทและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต เพราะหากถูกนำมาใช้โจมตีทางไซเบอร์อาจยากจะรับมือ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้นำความสามารถของ Generative AI มาใช้เพิ่มความสามารถในการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้องค์กรต้องพึ่งพาโซลูชันความปลอดภัยบนพื้นฐาน AI มากขึ้นเพื่อตอบโต้เชิงรุกต่อภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI และในฐานะเครื่องมือต่อต้านภัยคุกคามไซเบอร์ AI สามารถช่วยให้องค์กรวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ตรวจจับและจัดการกับภัยคุกคาม รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ในขณะเดียวกันองค์กรจำต้องวางแผนกลยุทธ์ในการยกระดับแรงงานดิจิทัล (Digital workforce) และลงทุนในทักษะและความรู้ของทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ และก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

นายดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีและระบบ Gen AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาความผิดปกติในระบบ และปรับรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการโจมตี ในขณะเดียวกัน องค์กรจำต้องวางกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรแรงงานดิจิทัลให้พร้อมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน การนำ Gen AI มาใช้เพื่อต่อกรกับภัย      ไซเบอร์เป็นการช่วยผ่อนแรงมากกว่าการมาแทนที่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจในหลากหลายมิติ ทั้งความถูกต้อง จริยธรรม ข้อบังคับ และผลเสียหายทางธุรกิจ ยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการตัดสินใจอยู่ การใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และ Gen AI เพื่อการป้องกันภัยเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการลงทุนในทักษะและความรู้ของบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง คือวิธีที่จะก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น”

– [ ] นายดำรงศักดิ์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบัน MFEC มี Cybersecurity Engineer กว่า 140 คนที่พร้อมให้บริการ โดยบริษัทฯ วางแผนที่จะขยายตลาดและเติบโตในธุรกิจนี้อย่างก้าวกระโดดผ่านการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดกลาง (Mid-size) มากขึ้น รวมถึงการให้บริการแบบ Managed Service ครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐและเอกชน เรามุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากร ไม่เพียงแค่การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการรับรองจาก Certificate มาตรฐานสากลต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญและ  ความพร้อมในการให้บริการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ครบวงจรและมีคุณภาพสูงสุด การพัฒนาบุคลากรเหล่านี้คือการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งในการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ของธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้และเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้บริษัทยังได้ตั้ง ศูนย์ปฎิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Operation Center) หรือ CSOC เพื่อรองรับการให้บริการไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับองค์กรและ บริการในรูปแบบการชำระค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน (as a service) ด้วย

#MFEC #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share