TCELS เร่งดันธุรกิจชีววิทยาศาสตร์เข้าสู่ตลาดทุน หนุนธุรกิจบริการทางการแพทย์ คอสเมติก ขยายตลาดต่างประเทศ

กองบรรณาธิการ

Screenshot

ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ อินทร์มา ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุนศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กล่าวว่า TCELS ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการผลักดันผู้ประกอบการกลุ่มการแพทย์และสุขภาพให้เติบโตได้ในตลาดทุนอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการยกระดับธุรกิจชีววิทยาศาสตร์  โครงการพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดทุน เป็นต้น ซึ่งนับเป็นทิศทางการส่งเสริมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อันเป็นพันธกิจหลักของTCELS ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมชีววิทศาสตร์อย่างยั่งยืน โดยอุตสาหกรรมขีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทยในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ที่ 8,900 ล้านบาทและในปี 3566 ตลาดชีววิทยาศาสตร์มีมูลค่า 12,000 ล้านบาท 

“รัฐบาลเชื่อว่าตลาดชีววิทยาศาสตร์เป็นตลาดใหม่ที่การเติบโต  (New growth engine) จึงพยายามที่จะผลักดันเพื่อให้มีการลงทุนในภูมิภาคขึ้น” ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ กล่าวและว่า

เพื่อเป็นการส่งเสริมผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง TCELS ได้จัดงาน จัดงาน Bio Asia Pacific 2024 งานแสดงนิทรรศการและการประชุมด้านชีววิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมการจัดแสดงผลงานนวัตกรรม เทคโนโลยี ความก้าวหน้าด้านการแพทย์สุขภาพของไทยบนเวทีระดับนานาชาติซึ่งภายในงานได้แสดงถึงความล้ำหน้าทางการการแพทย์และสุขภาพจากหลากหลายหน่วยงาน นำเสนอผลงานการค้นคว้าพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน รวมถึงมีการจัดเสวนาในหัวข้อ TCELS Business Forum : The Age of Life Sciences Industry ภายใต้ประเด็น Roadmap to Capital Market ด้วย

ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ อินทร์มา กล่าวต่อว่า ธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจบริการทางการแพทย์ (Health services) และคอสเมติก 

ทั้งนี้ TCELS สนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความพร้อมระดับหนึ่ง โดยจะช่วยเตรียมการที่จะให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาด SET  รวมถึงช่วยการจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจ (Matching fund) รวมถึงให้งบสนับสนุน (Funding agency)ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้วยโดยมีงบประมาณสนับสนุนผู้ประกอบการ 300-400 ล้านบาท ต่อปี 

“บทบาทของ TCELS คือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้เจอกับนักลงทุนต่างประเทศโดยเอาคนที่มีโปรดักส์ที่พร้อมสู่ตลาดในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เราจะมีการสนับสนุนทั้งหมด 5 อย่าง 1.ยา 2.เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางจากยางพารา 3.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาทิ ผลิตภัณฑ์สำหรับโรคข้อเข่า 4.คอสเมซูติคอลและ5.การให้บริการทางการแพทย์ ทั้งหมดใช้เงินลงทุนสูงฉะนั้นการที่จะทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ต้องใช้ทุนพอสมควร ในประเทศไทยประมาณ 10 ปี มีบริษัทชีววิทยาศาสตร์เกิดขึ้นราว 3-4 บริษัทต่อปี”

สำหรับผลิตภัณฑ์ทางด้านชีววิทยาศาสตร์ที่ประเทศไทยมีความพร้อมไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ มากที่สุด คือ บริการทางการแพทย์ (Health services) เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตยาที่มีสิทธิบัตร หมดอายุแล้ว อาทิ การผลิตยา HIV ยาลดไขมัน และยา

ความดัน เป็นต้น ส่วนคอสเมติก มีการสนับสนุนผู้ประกอบการในการส่งผลิตภัณฑ์คอสเมติกไปที่ประเทศฝรั่งเศส 

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน TCELS อยู่ระหว่างการสนับสนุนผู้ประกอบการประมาณ 13 ราย โดยแต่ละบริษัทจะสามารถระดมทุนในตลาดได้ราว 3,000 ล้านบาท เช่น โรงพยาบาลศรีสวรรค์ จังหวดีนครสวรรค์ บริษัท เอ็มพี กรุ้ป เป็นบริษัทผู้ผลิตยาและ เครื่องสำอาง เป็นต้น

Screenshot

# TCELS #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share