AIS เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 หวังยกระดับป้องกันภัยไซเบอร์ให้คนไทย

กองบรรณาธิการ

จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของมิจฉาชีพไซเบอร์หรือ ภัยจากสื่อสังคมออนไลน์ ต่างๆ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในทรัพย์สินและสูญเสียเงินจำนวนมาก จากข้อมูลของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (1 มีนาคม 2565 – 31 กรกฎาคม 2567) รายงานว่า ในปี 2566 ประเทศไทยติดอันดับ 6 ประเทศที่เกิดภัยทางการเงินมากที่สุดในโลก รองจากอินเดีย ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐ และ ออสเตรเลีย ประเทศไทยมีคดีออนไลน์ 612,603 เรื่อง โดยเรื่องที่มีการแจ้งความ 3 อันดับแรกจาก 15 อันดับ คือ หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ ไม่เป็นกระบวนการ รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน และ หลอกให้กู้เงิน โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมทั้งหมดที่ 69.18 หมื่นล้านบาท หรือวันละ 78 ล้านบาท

เพื่อช่วยลดการสูญเสียเงินและทรัพย์สินของประชาชน AIS ร่วมกับพันธมิตร เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 ต่อเนื่องปีที่ 2 เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักรู้เท่าทันภัยจากสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งโชเชียลมีเดีย แก็งค์ คอลเซ็นเตอร์ การซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์ เป็นต้น

นางสายชล กล่าวว่า จากภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง AIS ในฐานะเป็นผู้นำในการให้บริการดิจิทัลของประเทศ มีนโยบายมุ่งช่วย ประชาชนให้ตระหนักถึงภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต จึงได้จัดทำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 เพื่อมุ่งส่งเสริมการใช้งานที่ถูกต้องปลอดภัยและเหมาะสมให้กับลูกค้าและคนไทย ภายใต้โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER

สำหรับดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 ที่จัดทำขึ้น จะมุ่งเน้นการวัดสุขภาวะดิจิทัล 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล ด้านความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล และด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล โดยมีการวัดผลใน 3 มิติ คือ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

นายสายชล กล่าวต่อว่า จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนไทย ใน 77 จังหวัด ทั่วประเทศ จำนวน 50,965 ตัวอย่าง พบว่า ระดับของดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยที่ 0.73

ทั้งนี้ผลการศึกษายังสะท้อนให้เห็นว่า แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น

พร้อมกันนี้ AIS ได้พัฒนาเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check เป็นครั้งแรกในไทยที่ทุกคนสามารถประเมินระดับความสามารถในการรับมือจากภัยไซเบอร์พร้อมศึกษาความรู้จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง มากไปกว่านั้น AIS ยังได้นำเสนอเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ AIS Secure Net ที่วันนี้ได้เพิ่มการปกป้องที่ครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้า AIS ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างอุ่นใจ ปลอดภัย ไร้กังวล และที่สำคัญลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน

“ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย การป้องกันภัยไซเบอร์กลายเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ทำให้การทำงานของ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมุมของการสร้างภูมิปัญญาหรือ Wisdom ที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ และในมุมของการใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ” นางสายชล กล่าว

นางสายชล อธิบายเพิ่มเติมว่า AIS ทำงานควบคู่กันทั้งการส่งเสริมทักษะความรู้ และพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้ และมีการพัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาบริการ AIS Secure Net ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่จะช่วยปกป้องลูกค้า ช่วยลดความเสี่ยงจากการหลอกลวงจากมิชฉาชีพออนไลน์ในหลายรูปแบบ อาทิ ปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง

โดยวันนี้ลูกค้าสามารถสมัครใช้งาน AIS Secure Net ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก

“AIS ยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” นางสายชล กล่าวและว่า AIS จัดทำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลเพื่อให้ทุกคนมาใช้บริการ ตระหนักรู้ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรและอยากให้ประชาชนสามารถมาทำ Digital Health Check ด้วยตัวเองง่าย ๆ ช่วยตรวจสุขภาวะดิจิทัลของตนเอง ช่วยให้มีภูมิคุ้มกันหรือวัคซีน และ AIS ได้สร้างเครื่องมือเพื่อช่วยเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัล ให้ประชาชนมีพัฒนาการดีขึ้น อย่างน้อยทุกคนจะมีความปลอดภัย

#AIS #ThaiSMEs #DigitalHealthCheck #ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย #ThailandCyberWellnessIndex2024

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share