กองบรรณาธิการ
ไบแนนซ์ (Binance) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัล ตอกย้ำความมุ่งมั่นในด้านการกำกับดูแลนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน (AML) ได้รับการจดทะเบียนเป็นหน่วยงานนิติบุคคลที่รายงานขึ้นตรงต่อหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดีย (FIU-IND) ซึ่งถือเป็นการบรรลุเป้าหมายด้านกฎระเบียบระดับโลก (global regulatory milestone) ของไบแนนซ์
นายริชาร์ด เทง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไบแนนซ์ กล่าวว่า การจดทะเบียนระหว่างไบแนนซ์และหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดียถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่งของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในอินเดีย การที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เหมาะสม จะทำให้สามารถส่งมอบการบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานชาวอินเดียได้ ซึ่งการขยายขอบเขตการให้บริการของแพลตฟอร์มไบแนนซ์อันล้ำสมัยมายังอินเดียในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดียต่อไป
ทั้งนี้ จากรายงานดัชนีการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลของทั่วโลกของ Chainalysis ในปี 2565 (Chainalysis’ 2023 Global Crypto Adoption Index) ได้เผยให้เห็นว่า ประเทศอินเดียถือเป็นผู้นำของโลกในด้านการยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมทั้งยังติดกลุ่ม 5 อันดับแรกในด้านปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์และแบบกระจายศูนย์ แพลตฟอร์มการกู้ยืม สินทรัพย์คริปโต (Lending Protocols) และสัญญาอัจฉริยะของโทเค็น (Token Smart Contracts) ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ย้ำให้เห็นถึงความตื่นตัวและศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดีย รวมถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่ประเทศนี้จะมีต่อโลกการเงินในอนาคตอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ไบแนนซ์ จึงได้นำโปรแกรมระดับโลกด้านการปฏิบัติตามตามกฏระเบียบข้อบังคับมาประยุกต์ใช้โดยโปรแกรมดังกล่าว ครอบคลุมถึงนโยบายต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวด และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย (Combating the financing of terrorism – CFT) โดยไบแนนซ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำกรอบการทำงานนี้มาใช้ในประเทศอินเดีย จะสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศทั้งหมด พร้อมไปกับการเสริมยังช่วยสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานทุกคนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือความเข้มงวดด้านจากการกำกับดูแลตามนโยบายต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ของการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ไบแนนซ์ให้ความสำคัญ อย่าง กระบวนการยืนยันตัวตน KYC และหน่วยงานการกำกับดูแลด้านอาชญากรรมทางการเงิน (FCC) ชั้นนำของอุตสาหกรรม ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการสืบสวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมร่วมพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถ เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัยร่วมกันของระบบนิเวศ โดย นายริชาร์ด กล่าวเพิ่มเติมว่า ความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวดเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจของไบแนนซ์ เพราะเรามีเป้าหมายที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม
#Binance #ThaiSMEs #ThaiSMEs