กองบรรณาธิการ
นางสาวไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) หรือ TCELS กล่าวว่า การจัดงาน TCELS Business Forum 2024: The Life Sciences Index as crucial guide for business development and industry advancement มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือการแถลงผลการพัฒนาดัชนีอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ (Life sciences index) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพยากรณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตอย่างไร โดยการพัฒนาดัชนีดังกล่าว TCELS ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยได้ข้อสรุปถึงปัจจัยที่จะส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมออกเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input factor) ปัจจัยด้านผลผลิต(Output factor) และ ปัจจัยด้านผลลัพธ์(Outcome factor)
ในการแถลงผลดังกล่าวยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยประกอบด้วย เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
นอกเหนือจากเพื่อการแถลงผลดังกล่าว กิจกรรมนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อสื่อสารให้เกิดตระหนักต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์และให้ผู้มีส่วนร่วมได้ช่วยกับเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดแรงเหวี่ยงให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เติบโตอย่างรวดเร็ว
อนึ่ง ดัชนีนี้จะสื่อความหมายว่าถ้าหากปีใดมีเลขดัชนีที่สูง
– [ ] หมายความได้ว่าอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์มีแนวโน้มในการเติบโตสูงขึ้น ถ้าเปรียบเทียบอาจเปรียบเทียบได้กับดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค ที่แสดงว่าในปีใดมีค่าสูง ประชาชนก็จะมีราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น หรือคือราคาสินค้าแพงขึ้น เพียงว่า LS index นั้น หากปีใดมีค่ามากก็แสดงว่าปีนั้นอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์มีการเติบโตมาก
โดยจากการพัฒนานั้น ผู้เกี่ยวข้องอันประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ภาคส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ การต่อยอดด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงด้านการลงทุนได้ โดย TCELS จะนำเสนอและพัฒนาต่อยอดโครงการต่างๆเพื่อสนับสนุนให้เกิดการประโยชน์จากดัชนีชี้วัดนี้ และนำเสนอภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) ต่อไป
นางสาวไปยดา กล่าวต่อว่า TCELS ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัย การสร้างองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการด้านชีววิทยาศาสตร์ ตลอดจนเชื่อมโยงระหว่างผลงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ไปสู่การแปลงเป็นเชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ซึ่งหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมนั้นคือการขยายตัวของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น TCELS ยังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ยา เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอางและการบริการทางการแพทย์ของไทย ให้เกิดการเติบโตขึ้นต่อไปและได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น TCELS จึงมีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อที่จะเป็นแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและระบบนิเวศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระยะเวลากว่า 5 ปีในการพัฒนาดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ หรือ Life Sciences Index ขึ้น
การจัดงาน TCELS Business Forum 2024: The Life Sciences Index as crucial guide for business development and industry advancement. ในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างการรับรู้ถึงผลการศึกษาดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ อันประกอบไปด้วย ผลการประเมินอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการบริการทางการแพทย์และสุขภาพ ดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ที่ TCELS ได้ร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อัจฉรา จันทร์ฉาย จะชี้ให้เห็นถึงทิศทางและปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้เกิดความเติบโต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้เป็นอุตสาหกรรมหลักของชาติในอนาคต
นอกจากการรับรู้ผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว กิจกรรมนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ภาคเอกชน ทั้งนักลงทุนและนักธุรกิจ ได้พบปะกับนักวิชาการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะเป็นการก่อร่างเครือข่ายในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ร่วมกันในอนาคต รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับทุกภาคส่วน ที่ได้เห็นปัจจัยและทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรม อันจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือให้กับเครือข่ายในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ได้อย่างดี
รองผู้อำนวยการ กล่าวว่า TCELS มีบทบาทในการเป็น Accelerating innovations ข่วยเร่งรัดขับเคลื่อนนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววิทยา ศาสตร์ ด้านยาชีววัตถุ เครื่องมือแพทย์ และสารสกัดธรรมชาติ เพื่อเป็นเครื่องสําอางและเสริมอาหาร โดยมุ่งเน้น ระดับของนวัตกรรมปลายน้ํา (TRL 7-9) เพื่อเข้าสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม
Building conducive ecosystems: สร้างระบบนิเวศที่เอื้ออํานวย ต่อการพัฒนางานวิจัยชีววิทยา ศาสตร์ โดยมุ่งตั้งแต่ระบบนิเวศกลางน้ําจนถึงปลายน้ํา (TRL 5-9) Catalyzing & connecting partners: กระตุ้นและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร เพื่อเชื่อมโยงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เช่น บ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ตลอดจนสามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศได้
“TCELS เป็นหน่วยงานที่จะต้องมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและจัดทำนโยบายเสนอกับภาครัฐ ในเริ่องของการส่งเสริมอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นต้องมีข้อมูล Fact ก่อน การที่จะบอกว่ามีข้อมูลชีววิทยาศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของ new s cure เป็นอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายของประเทศ
เมื่อเรารู้สถานะของเราแล้วเราจะได้มา กำหนดทิศทางนโยบาย ในการพัฒนาต่อไปได้เพราะฉะนั้น ตัวดัชนีนี้จะมีความสำคัญ ในเรื่องของการวางแผนนโยบาย และในฝั่งของเอกชนเอง เมื่อได้ข้อมูลภาพรวมตรงนี้แล้ว ก็จะได้เอาเทียบกับตัวเองเป็น Benchmark ว่า Indicator ของระดับประเทศเป็น แบบนี้แล้ว แล้ว Indicator ของบริษัทสอดคล้องตาม Indicator ของประเทศหรือเปล่า เราต่ำกว่าเกณฑ์หรือสูงกว่าเกณฑ์”
ทั้งนี้ในภาพรวมของไทย สำหรับชีววิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมีความพร้อมมากที่สุด คือ เครื่องสำอางและสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องโดยทั่วไป ซึ่งอาศัยความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับมูลค่าอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ในไทย ในปัจจุบัน ประมาณ 40,000 – 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และTCELS มีงบประมาณในการสนับสนุนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี เพื่อสนับสนุนทางด้านกรอบการวิจัยและโครงการต่างๆ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีสินค้า 4-5 ราย ที่ TCELS สนับสนุนและได้นำร่องผลิตและทดลองใช้ ผลิตภัณฑ์ช่วยลดการนำเข้า เช่น รากฟันเทียม ถุงทวารเทียม (จากยางพารา) เท้าเทียมไดนามิก และกะโหลกเทียม เป็นต้น
#TCELS #ThaiSMEs #TCELSBusinessForum2024
#ดัชนีอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์
#อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ไทย
#ThaiSMEs
#TheLifeSciencesIndexascrucialguideforbusinessdevelopmentandindustryadvancement