เครื่องมือ AI ใหม่ฝีมือนักวิจัยออสเตรเลีย ช่วยเลือกวิธีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ซินหัว

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชื่อ ดีปพีที (DeepPT) ที่สามารถช่วยคัดเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยการคาดการณ์การตอบสนองต่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายชนิดได้สำเร็จ

อัตราการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.3 เป็นร้อยละ 46.5 ด้วยการใช้ดีปพีทีร่วมกับเครื่องมือชิ้นที่สองชื่อว่า เอนไลต์ (ENLIGHT) เพื่อคัดเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

ดัญ-ไต้ หว่าง ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวภาพของมหาวิทยาลัยฯ เผยว่าเราทราบดีว่าการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจมีส่วนสำคัญต่อผลลัพธ์การรักษา ดีปพีทีต่อยอดจากงานก่อนหน้าโดยทีมนักวิจัยเดียวกันนี้ในการพัฒนาเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์สำหรับช่วยแยกประเภทของเนื้องอกในสมอง ซึ่งเครื่องมือทั้งสองใช้ภาพของเนื้อเยื่อผู้ป่วยจากกล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่าภาพทางจุลพยาธิวิทยา

หว่างกล่าวว่าการใช้ภาพทางจุลพยาธิวิทยาประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลามากกว่า เมื่อเทียบกับวิธีการประมวลผลข้อมูลโมเลกุลแบบซับซ้อนในปัจจุบัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ ทว่าความล่าช้าทุกรูปแบบอาจก่อให้เกิดความท้าทายในกรณีผู้ป่วยเนื้องอกรุนแรงที่ต้องรับการรักษาทันที

โมเดลปัญญาประดิษฐ์ข้างต้นนี้ร่วมพัฒนาโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ และบริษัทเภสัชภัณฑ์แพนเจีย ไบโอเมด (Pangea Biomed) โดยถูกนำมาฝึกทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมาก 16 โรค กว่า 5,500 ราย อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับอ่อน

#เครื่องมือAI #ดีปพีที #DeepPT #ซินหัว #ThaiSMEs 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share