ยูโอบี เปิดตัว Sustainability Compass ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจเอสเอ็มอี สู่ความยั่งยืน วาดเป้า 1,700 รายใน 3 ปี 

กองบรรณาธิการ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือชิ้นแรกที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในทุกอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

ผลสำรวจจากรายงาน UOB Business Outlook Study 2024 จากธุรกิจมากกว่า 500 ราย พบว่าร้อยละ 94 ของธุรกิจไทยตระหนักว่าประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ โดยร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีแผนที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในอีก 3 ปีข้างหน้า และต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารในด้านต่างๆ เช่น ต้องการเชื่อมต่อกับบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อเรียนรู้แนวปฎิบัติตัวอย่าง ต้องการบริการด้านการลงทุนรวมถึงคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้าน ESG และต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธุรกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงร่วมกับ พีดับบลิวซี พัฒนา UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือในรูปแบบของแบบประเมินออนไลน์ ที่จะช่วยวัดระดับและประเมินความพร้อมด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าอยู่ในระยะใด บริษัทสามารถลงทะเบียนเพื่อทำแบบสอบถาม และรับรายงานที่รวบรวมแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน โดยรายงานมีการรวบรวมข้อมูลจำเพาะของกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตราฐานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่บริษัท

นางสาวอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ความยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้แก่บริษัทในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและเทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่สามารถพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนจะช่วยสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว เราในฐานะธนาคารชั้นนำของภูมิภาคตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างสะดวกขึ้น ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก UOB Sustainability Compass เพื่อรับทราบแผนงานที่ชัดเจนเพื่อข้ามอุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

UOB Sustainbility Compass นับว่าเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะสนับสนุนและช่วยธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจสีเขียวหรือธุรกิจที่ปรับเข้าสู่ความยั่งยืนจะมีรูปแบบและแนวทางให้บริษัทประเมินใน 5 ด้านประกอบด้วย 1. การทำความเข้าใจมีการกำหนดบทบาทและความรับชอบ รวมถึงระบุประเด็น ESG ที่สำคัญขององค์กร 2. การชี้วัด เป็นการใช้วิธีการและมาตรฐานที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการตั้งค่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI) ในประเด็นสาระสำคัญ ESG แต่ละข้อ 3. การกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรในการก้าวสู่ธุรกิจสีเขียว  มีการพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและการลดคาร์บอนและตั้งเป้าหมายประสิทธิภาพด้านคงามยั่งยืนจาม KPI 4. การนำกลยุทธ์มาดำเนินการ มีการพัฒนากระบวนการต่างๆ เพื่อบริหารจัดการความต่อเนื่อง พิจารณาแหล่งเงินทุนเพื่อความยั่งยืน รวมถึง รายงานผลการดำเนินงานและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืน และ 5. การประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ เป็นการบูรณาการประเด็นเรื่อง ESG ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

“UOB เริ่มให้บริการ UOB Sustainbility Compass มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ปัจจุบันลูกค้าธนาคารที่เข้ามาใช้ UOB Sustainbility Compass ช่วยการประเมินบริษัทเพื่อปรับไปสู่ธุรกิจอย่างยั่งยืนประมาณ 300 บริษัท บริษัทคาดว่าภายใน 3 ปี จะมีธุรกิจเข้ามาใช้บริการประมาณ 1,700 ราย” นางสาวอัมพร กล่าวและว่า ในส่วนของ 300 บริษัทที่เข้ามาร่วมประเมินธุรกิจก้าวสู่ความยั่งยืน แบ่งเป็นบริษัทที่มีความยั่งยืนระดับต้น 60 เปอร์เซ็นต์ ระดับกลางและระดับสูง 40 เปอร์เซ็นต์ 

นางสาวพนิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institution และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่บรรษัทขนาดใหญ่นำมาพิจารณาสำหรับคัดสรรองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกัน ธนาคารจึงได้ออกแบบกรอบแนวคิดที่เรียกว่า Sustainable Finance Framework เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนประเภทต่างๆ อาทิ สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building) สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing) ซึ่งสินเชื่อประเภทต่างๆ นี้ จะช่วยลดระยะเวลาและลดการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรให้แก่ธุรกิจ ช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที

นางสาวพนิตตรา กล่าวว่า  UOB เริ่มให้บริการสินเชื่อความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2018 ให้บริการสินเชื่อกับลูกค้าจำนวน 200 ล้านบาท ในปี 2018-2023 ที่ผ่านมา UOB ปล่อนสินเชื่อด้านความยั่งยืนประมาณ 33,000 ล้านบาท และในปี 2023 ปล่อยสินเชื่อสีเขียวประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของสินเชื่อทั้งนอกจากนี้หมด 33,000 ล้านบาท ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทได้มากกว่า 300 บริษัท มีการปล่อยมลพิษลดลงประมาณ 660,000 ตัน ช่วยลดก๊าซเรทอนกระจกมากกว่า 25,000 ตัน นอกจากนี้ UOB มีฐานลูกค้าระบบคอร์ปอเรทซึ่งเป็นลูกค้าสินเชื่อและลูกค้าเงินฝากธนาคารมากกว่า 4,000 ราย

ปัจจุบันมีบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรมได้ทดลองใช้เครื่องมือ UOB Sustainability Compass ประกอบด้วย บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ผลิตข้าวเกรียบรายใหญ่ของประเทศ และ บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด

นายอภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด กล่าวว่า “ฝการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง บริษัทของเรามีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก เราจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงปฎิบัติตามมาตราฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตของโรงงานอย่างเคร่งครัด หลังจากที่ได้ทดลองใช้ UOB Sustainability Compass เราได้รับรายงานที่รวบรวมกฎระเบียบสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเราสามารถใช้ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการหาแนวทางการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อขับเคลื่อนวาระ ESG ของเราไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

นายโสฬส ยอดมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด กล่าวว่า รายงานที่บริษัทได้รับจากการใช้ UOB Sustainability Compass ช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจของเราไปสู่ความยั่งยืน ข้อมูลที่เราได้รับจากรายงานฉบับนี้ทำให้เราสามารถระบุแนวทางที่บริษัทควรบฎิบัติเพื่อทำให้ธุรกิจให้มีความยั่งยืน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดสรรพันธมิตรทางธุรกิจ และการเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากยิ่งขึ้น เราพร้อมที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับธนาคารยูโอบีเพื่อขอสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา

ตั้งแต่ธนาคารยูโอบีเปิดตัว UOB Sustainability Compass เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีบริษัทกว่า 1,700 แห่งทั่วภูมิภาคได้ทดลองใช้เครื่องมือนี้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว ธนาคารมีแผนจะเปิดตัวเครื่องมือนี้ที่ประเทศอินโดนิเซียนเป็นลำดับต่อไปภายในปีนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.uob.co.th/compass-th

 “เรื่อง ESG ความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และธรรมาภิบาลติดอันดับ  Top 5 ที่เอสเอ็มอี ให้ความสำคัญ ในสามปีข้างหน้า ธุรกิจจะต้องพัฒนาไปในแนวทางความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น UOB พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจก้าวไปสู่การความยั่งยืน และพร้อมสนับสนุน 6 แนวทางสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านของธุรกิจมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นางสาวอัมพร กล่าว

#ESG #UOB #ThaiSMEs #SustainabilityCompass

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share