กองบรรณาธิการ
จากปัญหาภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง เอไอเอส หนึ่งในโอเปอเรเตอร์ ของไทย ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนทุกภาคส่วน ล่าสุด เอไอเอส ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคีเครือข่ายทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างภูมิคุ้มกันรับมือปัญหาภัยไซเบอร์อย่างยั่งยืน พร้อมส่งต่อทักษะความฉลาดทางดิจิทัลผ่าน “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” ไปยังบุคลากรของ พม. และ ประชาชนคนทุกช่วงวัย เพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) ที่มีภูมิคุ้มกัน สามารถใช้งานสื่อออนไลน์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์ถือเป็นภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชนอย่างมาก ทุกฝ่ายจึงจำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับคนไทย พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการส่งเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนใช้งานโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย โดยครั้งนี้เป็นความร่วมมือกับเอไอเอสในการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ให้บุคลากรกว่า 11,000 คน ได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะทางดิจิทัล ตลอดจนการขยายผลองค์ความรู้ไปยังพลเมืองยุคใหม่ ทุกช่วงวัย อาทิ ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ สตรี และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในโลกออนไลน์
“โครงการอุ่นใจไซเบอร์ เป็นโครงการที่สำคัญที่ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง เป็นโครงการที่ให้ความรู้ ปกป้อง ความปลอดภัย ทรัพย์สิน และอีกในหลายมิติ จากการที่มิจฉาชีพในวันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ดังนั้นการมีโครงการเช่นนี้ จะช่วยสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางดิจิทัลที่ดี ให้กับพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็น คนสูงอายุคนพิการหรือแม้แต่คนทำงานทั่วๆไปเพราะว่าวันนี้มิจฉาชีพนั้นอยู่ทุกหัวระแหง และจะมีเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ๆ ในการที่จะมาหลอกเอาเงินจากบัญชีของเรา โครงการนี้จะสร้างเกราะป้องกันให้กับพี่น้องประชาชนต่อกรกับมิจฉาชีพทั้งหลายทั้งออนไลน์หรือในรูปแบบ คอลเซ็นเตอร์เฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุวงเงิน 25,000 ล้านบาทในแต่ละปี ที่มิจฉาชีพได้หลอกเอาไป” นายวราวุธ กล่าวและว่า
ดังนั้นโครงการนี้ก็หวังที่จะสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ในเบื้องต้นที่มีการหลอกลวงจะมีศูนย์ Hotline 1300 ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. ที่พร้อมจะให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
นาย วราวุธ กล่าวว่า จากตัวเลขจำนวน เงิน 20,000 ถึง 30,000 ล้านบาทในแต่ละปีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตในการเก็บสะสมเอาไว้ใช้ในปั้นปลายชีวิต จะเอาไว้ให้ลูกให้หลาน บางครั้งหายไปชั่วพลิบตา ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องให้ความรู้ มาให้ความเข้าใจ และกระจายองค์ความรู้ต่างๆเหล่านี้ ให้ไปถึงประชาชนในทุกพื้นที่ วันนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ที่จะพัฒนาหลักสูตร ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การติดตามมิจฉาชีพทั้งหลาย ต้องขอบคุณ กรมสุขภาพจิต ที่ตอบโจทย์ทางทฤษฎี และเอไอเอส ที่ท่านให้ความร่วมมือให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ ท้ายที่สุดหากหลีกเลี่ยงไม่พ้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็ยังมีสายด่วนภัยออนไลน์ ของสำนักตำรวจแห่งชาติ 1441 หรือแม้แต่กระทรวง พม. เอง มีการจัดตั้งศูนย์ เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. หมายเลข 1300 สามารถที่จะโทรมาได้โดยตรงและแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะได้ส่งทีมงานไปช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ก่อน
ดังนั้นโครงการนี้เป็นโครงการที่สามารถเข้าถึง พี่น้องประชาชนได้ในระดับรากหญ้าและสามารถเอาไปต่อยอดไปคุยกับอาสาสมัคร โดย พม. มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อยู่ในทุกพื้นที่ทุกจังหวัด ในประเทศไทยกว่า 350,000 คน จะไปขยายความป้องกันให้กับพี่น้องประชาชนจากภัยที่เกิดขึ้นอย่างสุดวิสัย
“ผมคิดสิ่งที่จะป้องกันมิจฉาชีพได้ทีที่สุดก็คือการตื่นรู้ของประชาชน ทุกๆคนเทคโนโลยีไม่ว่าจะดีแค่ไหน ทันสมัยแค่ไหนก็จะมีช่องโหว่เกิดขึ้น ดังนั้นการตื่นรู้การมีความฉลาดและมีความเฉลียว ทางด้านโลกออนไลน์จะเป็นเครื่องมือในการป้องกันมิจฉาชีพได้ดีที่สุด” นายวราวุธ กล่าว
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลเราไม่เพียงเดินหน้าเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อคนไทยเพียงเท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านการยกระดับทักษะดิจิทัลของคนไทยที่เชื่อว่าการเสริมสร้างองค์ความรู้คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านภัยไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน ทำให้ที่ผ่านมาเอไอเอสได้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัลอย่าง หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาแกนหลักสำคัญที่ถูกแบ่งออกเป็น 4P 4ป ประกอบไปด้วย Practice ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม, Personality ปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์, Protection เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์ และ Participation รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม ซึ่งหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ถูกขยายผลไปยังบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผ่านความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่วันนี้ได้เรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์นี้แล้วกว่า 320,000 คน
“โดยครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชนอย่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกทักษะในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง เข้าไปให้บุคลากรของกระทรวงฯ ได้ศึกษาเรียนรู้ และส่งต่อไปยังประชาชนคนไทยทุกช่วงวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ ได้เสริมทักษะดิจิทัล รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ สามารถใช้งานออนไลน์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและสร้างสรรค์” นายสมชัย กล่าวและว่าในฐานะที่ เอไอเอส เป็นผู้นำในเรื่องดิจิทัลเทคโนโลยี จากการที่ได้นำเทคโนโลยีต่างๆที่มี เข้ามาให้กับประชาชนได้ใช้เพื่อที่จะสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตส่วนตัวในการทำธุรกิจต่างๆแน่นอนเรื่องไซเบอร์หรืออินเทอร์เน็ตต่างๆเข้ามามันมีประโยชน์แล้วก็มีโทษ เอไอเอสได้ตระหนักข้อนี้มาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ปี 2562 ได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตและทางมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ในการสร้างหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ขึ้นมา เพื่อที่จะให้คนเราได้เรียนรู้ การอยู่ร่วมกับโลกไซเบอร์ อย่างดีจากแบบทดสอบ ที่ได้ทำขึ้นมา และจะมีประกาศษณียบัตรให้กับ ทุกคนที่เข้ามาทำจะได้เป็น ตัวปกป้องคุ้มกัน ในการใช้งานใช้เบอร์ได้อย่างปลอดภัย
นับเป็นโอกาสที่ดีมากที่ท่านรัฐมนตรีและกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ได้เข้ามาร่วมมือกับเอไอเอสเพื่อจะขยายผลของการ ใช้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปในส่วนงานของกระทรวงพม. ซึ่งได้ครอบคลุมดูในเรื่องของสังคม เรื่องของการพัฒนามนุษย์ อย่างมาก เชื่อว่าโครงการนี้หลังจากได้ร่วมงานกับกระทรวงพม. จะขยายหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปได้ในวงกว้างขึ้น ได้ครอบคลุมสังคมได้มากขึ้น
“เอไอเอส และโอเปอเรเตอร์ทุกราย เราตระหนักถึงภัยตรงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเพียงประเภทเดียวเราจะเห็นว่ามิจฉาชีพต่างๆ เกิดขึ้นมาทั่วโลก เราเองมีการป้องกันร่วมมือกับตำรวจไซเบอร์มีสายด่วนที่คอยปกป้องมีทีมมีเบอร์ต่างๆ โทรศัพท์ต่างๆจากต่างประเทศที่เข้ามา เราก็จะมีการปกป้องป้องกันตลอด อะไรต่างๆที่โทรเข้ามาแบบผิดวิสัยเราก็ จะมีการปรับโค้ดนำหน้า สื่อสาร ไป ให้ ผู้ใช้บริการ ของเราให้ระวังตัว พวกภัยไซเบอร์ต่างๆเหล่านี้ เค้าจะเข้ามาและเปลี่ยนแปลงวิธีการตลอด เราจำเป็นที่จะต้องปลุกป้องและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน
วันนี้ไม่ต้องกังวลเพราะกสทช. ได้มีการ กำหนดมาตรการควบคุมในการจดทะเบียนแล้วยกตัวอย่างเช่นคนธรรมดาถ้าจดทะเบียนเกิน 5 เลขหมายก็จะต้องแสดงตนและจะต้องความจำนงและถ้ามีการโทรศัพท์กันมีมากกว่า 100 ครั้งเราก็จะตัดทวิตไม่ให้ทำ สิ่งต่างๆที่เรามอนิเตอร์และตรวจดูมีความผิดปกติเราจะปกป้องป้องกันให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้” นายสมชัย กล่าวและว่า
คอลเซ็นเตอร์จะเปลี่ยนวิธีการไปทุกทางทุกกลุ่มสามารถโทรไปหาไม่ใช่ผู้สูงอายุอย่างเดียวกลุ่มวัยรุ่นเองหรือว่าแม้กระทั่งคนทำงานตามที่ได้ติดตามข่าวแพร่กระจายไปในทุกกลุ่ม
ดังนั้นในส่วนของเอไอเอสเองทำ 2 ส่วนคือ เรื่องสินค้าบริการของเอไอเอสพยายามทำสินค้าบริการที่จะให้ปกป้องคุ้มครองให้มากที่สุดและแน่นอนจะปลุกป้องอย่างไรก็ตามมิจฉาชีพก็จะมีวิธีการต่างๆ ก็คงต้องใช้วิธีการตระหนักรู้ด้วย
ส่วนที่ 2 คือ ร่วมกันสร้างหลักสูตรเพื่อที่จะสอน ให้คนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ Learning machine มีการมอร์นิเตอร์ (Monitoring) เช่น พอเบอร์ใดเบอร์หนึ่งโทรออกหลายๆ ครั้งหรือ 100 ครั้งพร้อมกันก็จะระงับเบอร์หรือมีเบอร์จากต่างประเทศที่เข้ามา แบบแปลกๆถี่ๆ ก็จะมีการปักเบอร์ จากการใช้งานที่ผิดปรกติ และแจ้งเตือน เบอร์ที่โทรเกิน 100 ครั้งก็จะแบล็คลิสต์ เป็นต้น
“ผมเชื่อว่ากระทรวง พม. จะขยายผล หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ตลอดเวลาไม่ใช่ว่าเป็นอีเวนท์ที่ทำทีนึงแล้วเลิกไม่ใช่อย่างนั้น ผมว่าเป็นหลักสูตรที่สร้างความตระหนักรู้พอมีเคสแปลกๆใหม่ๆขึ้นมาเราก็จะใส่เนื้อหาตรงนั้นเข้าไปคงไม่ใช่ว่าเป็นหลักสูตรที่ไล่ตามมิจฉาชีพแต่เป็นการสร้างตระหนักรู้ว่าการใช้ไซเบอร์ที่ดีที่ถูกต้องมันเป็นอย่างไร” นายสมชัย กล่าว
#เอไอเอส #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ #อุ่นใจไซเบอร์