ดีอี ชู 7 เรือธง นโยบายคราวด์ภาครัฐ พัฒนา One App for All  ดันยกระดับการแข่งขันไทยขึ้นอันดับ 33

กองบรรณาธิการ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ  ดีอี กล่าวว่า  ในปีนี้กระทรวงดีอี มี Flagships ในการดำเนินงาน 7 ด้านหลักประกอบด้วย

1. Cloud First Policy

2. AI Agenda

3. 1 อำเภอ 1 IT Man

4. พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Manpower)

5. Cell Broadcast

6. แก้ปัญหาภัยออนไลน์

7. ยกระดับ Thailand Digital Competiveness Ranking

ในส่วนของ Cloud First Policy นั้น กระทรวงดีอี จะผลักดันการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก มุ่งสู่การเป็น Cloud Hub ของภูมิภาค

มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศที่ทันสมัย มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

ยกระดับการทำงานภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยี

  – ให้บริการระบบคลาวด์เพื่อพัฒนาการบริการประชาชนไม่น้อยกว่า 220 กรม 75,000 Virtual Machine (VM)

– ประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลของประเทศ 30-50%

– ส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการใช้ประโยชน์ Big Data

– สนับสนุนท้องถิ่นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงาน

ส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนด้านคลาวด์ของประเทศ รวมถึง ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่อรองรับการใช้บริการ Go Cloud First ของภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุนคลาวด์จากภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยรวมถึงจัดทำ One Application for All ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐบางส่วนได้ทุกคนซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนเข้าถึงได้มากกว่า 55 ล้านคน และทำ Paperless office สำนักงานไร้กระดาษสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภายใน 2 ปี

– ข้อมูลพยากรณ์กลุ่มฝนเชิงพื้นที่ระดับอำเภอ (ระยะ 3 ชั่วโมงข้างหน้า) บริเวณลุ่มน้ำทั่วประเทศและ แผนที่เสี่ยงภัยสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมาก

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนด้าน AI และพยากรณ์อากาศ 22 ลุ่มน้ำ โดยเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการพยากรณ์ฝน เพื่อให้สามารถแจ้งผลได้ล่วงหน้าใน 3 วันโดยมีความแม่นยำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

โครงการ 1 อำเภอ 1 IT Man

กระทรวงดีอี จะเร่งดำเนินการในการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาข้าราชการภายใต้สำนักงาน สถิติจังหวัดและอำเภอ เป็น IT Man จำนวน 1,196 คน ครอบคลุม 878 อำเภอทั่วประเทศ

มีศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2,222 แห่ง ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจำนวน 24,654 หมู่บ้าน พัฒนาสภาเยาวชนดิจิทัล รวมถึงสร้างชุมชนโดนใจมากกว่า 500 ชุมชน

“ดีอี มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ดีอีพร้อมสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลในจังหวัด มีการดำเนินงานครอบคลุมระดับพื้นที่อำเภอ จนถึงชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างการแข่งขันของประเทศได้

โครงการ พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Manpower) กระทรวงดีอี มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลกำลังลังคนดิจิทัล ผ่าน Digital ID (Credit bank)

นอกจากนี้รัฐบาลมีแผนที่จะดึงดูดกำลังคนดิจิทัลและมีการทำ Global Digital Talent VISA เพื่อดึงคนจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทย

นอกจากนี้กระทรวงดีอี ยังร่วมกับเอกชนในการเพิ่มกำลังคนดิจิทัล จำนวน 50,000 คน รวมถึงมีการตั้งอาสาสมัครดิจิทัล และสภาเยาวชนดิจิทัล เพื่อขยายผลให้ความรู้ดิจิทัลประชาชน มีการจัดทำฐานข้อมูลประชาชนผ่าน Digital ID พัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem (EWE) ใช้งบในการพัฒนาบุคลากรผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ

Cell Broadcast กระทรวงดีอี ร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง ทันสมัย สำหรับคนไทยทั้งประเทศ เรียกว่า ระบบ Cell Broadcast สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนภัยทุกประเภทให้กับประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ มีการส่งข้อความแบบเจาะจง ในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน คาดว่าจะใช้งานได้ภายใน 1 ปี

แก้ปัญหาภัยออนไลน์ มีการยกระดับการปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ผ่านศูนย์ AOC 1441 โดยประชาชนที่แจ้งอายัดผ่านศูนย์ AOC สามารถใช้เวลาในการระงับบัญชีได้ภายใน 15 นาที

ยกระดับ Thailand Digital Competitiveness สู่อันดับ 30 ใน 2569 จากอันดับ 40 ใน 2565

ปี 2567 IMD แจ้งว่าประเทศไทยมีความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศอยู่ในอันดับที่ 35 ในปี 2566 และขึ้นสู่อันดับ 33 ในปี 2567

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันด้านดิจิทัล กระทรวงดีอี พร้อมให้การสนับสนุนในทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ World Digtial Competitiveness Ranking ตามการจัดอันดับของ IMD กระทรวงให้ความสำคัญในการสนับสนุนตัวชี้วัดของ IMD อย่างเต็มที่ อาทิ การพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

#ดีอี #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share